วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แผนการเรียนรู้ที่ 2

  แผนการจัดการเรียนรู้ที่             
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                          ชั้นมัธยมศึกษาปีที่       
                           หน่วยการเรียนรู้       เรื่องนมัสการมาตาปิตุคุณและนมัสการอาจาริยคุณ
รายวิชาภาษาไทย                                                รหัสวิชา     ๓๑๑๐๑
เวลาเรียน  ๑๐    ชั่วโมง
…………………………………………………………………
มาตรฐานการเรียนรู้  
ท๑.๑                      ตัวชี้วัด   ม.๔-๖/๑-๙
ท๕.๑                     ตัวชี้วัด   ม.๔-๖/๑-๖
ท๒.๑                     ตัวชี้วัด   ม๔-๖/๘
ท๓.๑                     ตัวชี้วัด  ม.๔-๖/๑-๕
ท ๔.๑                   ตัวชี้วัด   ม. ๔-๖/๒
สาระสำคัญ
บทนมัสการมาตาปิตุคุณกล่าวถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ของบิดามารดาที่ลูกทุกคนควรบูชาและทดแทน
และบทนมัสการอาจาริยคุณ กล่าวถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ของครูที่ที่อบรมสั่งสอน  ผู้เป็นศิษย์ควรบูชา
จุดประสงค์การเรียนรู้      
          ๑.     อธิบายความหมายของคำศัพท์จากบทร้อยกรองที่อ่าน (K)
          ๒.   อธิบายสาระสำคัญของบทร้อยกรองที่อ่าน (K)
          ๓.    วิเคราะห์และวิจารณ์บทร้อยกรองที่อ่าน (P)
          ๔.    สังเคราะห์ข้อคิดจากบทร้อยกรองที่อ่าน (P)
          ๕.    เห็นคุณค่าของวรรณคดีและกระตือรือร้นในการเรียนรู้ (A)
         ๖.    แต่งคำประพันธ์ประเภทกลอนนิราศได้ (P)
        ๗.    เขียนเรียงความได้ (P)
        ๘.     มีมารยาทในการอ่าน  (A)
         ๙.     มีมารยาทในการเขียน  (A)

    สาระการเรียนรู้
๑.       ความรู้
                    บทนมัสการมาตาปิตุคุณ
            ๒.   ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด
                          การให้เหตุผล  การจัดระบบความคิดเป็นแผนภาพ  การสังเคราะห์ การสรุปความรู้
            ๓.    คุณลักษณะอันพึงประสงค์
                          ใฝ่เรียนรู้  รักความเป็นไทย
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
                    ชั่วโมงที่  ๑-๔
            ๑.     ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ  
            ๒.     นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน   เรื่อง  บทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ
            ๓.   ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น โดยครูใช้คำถามท้าทาย ดังนี้
                       ò   เพราะเหตุใดบิดามารดาจึงเป็นบุคคลที่ควรบูชา
               ๔.    ให้นักเรียนฟังเพลง ใครหนอ จากแถบบันทึกเสียง หรือร่วมกันร้องเพลง ใครหนอ                                   ๕.           ให้นักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับสาระสำคัญของเพลง
               ๖.     ให้นักเรียนสังเกตฉันทลักษณ์ของอินทรวิเชียรฉันท์ แล้วนำมาเปรียบเทียบกับ  บทร้อยกรองเพื่อสังเกตลักษณะของคำที่นำมาใช้ประพันธ์ จากนั้นครูอธิบายความรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับคำครุ-ลหุ
               ๗.    ให้นักเรียนอ่านออกเสียงบทนมัสการมาตาปิตุคุณพร้อมกัน แล้วฝึกอ่านเป็นทำนองเสนาะตามครู จากนั้นศึกษาความหมายของคำศัพท์ที่ไม่เข้าใจ
               ๘.    ให้นักเรียนช่วยกันอธิบายสาระสำคัญของบทนมัสการมาตาปิตุคุณ
               ๙.     ให้นักเรียนสังเคราะห์ข้อคิดที่ได้จากการอ่านบทนมัสการมาตาปิตุคุณ แล้วสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดกัน
               ๑๐.  ให้นักเรียนร่วมกันวิจารณ์บทนมัสการมาตาปิตุคุณในด้านวรรณศิลป์ และคุณค่า ด้านเนื้อหา
              ๑๑.  ให้นักเรียนระดมความคิดว่าจะทดแทนพระคุณของบิดามารดาได้อย่างไรบ้าง แล้วช่วยกันบันทึกเป็นแผนภาพความคิด
ชั่วโมงที่  ๕-๗
               ๑.   ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น โดยครูใช้คำถามท้าทาย ดังนี้
                       ò   เพราะเหตุใดครูจึงเป็นบุคคลที่ควรบูชา
               ๒.    ให้นักเรียนฟังเพลง พระคุณที่สาม จากแถบบันทึกเสียง หรือร่วมกันร้องเพลง                                           ๓.           ให้นักเรียนร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับสาระสำคัญของเพลง
               ๔.    ให้นักเรียนทบทวน ฉันทลักษณ์ของอินทรวิเชียรฉันท์     
               ๕.    ให้นักเรียนอ่านออกเสียงบทอาจริยคุณพร้อมกัน
               ๖.     แล้วฝึกอ่านเป็นทำนองเสนาะตามครู จากนั้นศึกษาความหมายของคำศัพท์ที่ไม่เข้าใจ
               ๗.    ให้นักเรียนช่วยกันอธิบายสาระสำคัญของบทนมัสการมาตาปิตุคุณ
               ๘.    ให้นักเรียนสังเคราะห์ข้อคิดที่ได้จากการอ่านบทอาจริยคุณแล้วสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดกัน
               ๙.     ให้นักเรียนร่วมกันวิจารณ์บทอาจริยคุณ   ในด้านวรรณศิลป์ และคุณค่า ด้านเนื้อหา
            ๑๐. ให้นักเรียนระดมความคิดว่าจะทดแทนพระคุณของครูได้อย่างไรบ้าง แล้วช่วยกันบันทึกเป็นแผนภาพความคิด
            ๑๑.นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน   เรื่อง  บทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ
ชั่วโมงที่  ๘-๙
                ๑.   ให้นักเรียนอ่านบทร้อยกรองจากแผนภูมิที่ครูติดบนกระดาน( อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑)   แล้วช่วยกันอธิบายความหมาย  และฉันทลักษณ์ของบทร้อยกรองตามที่สังเกตได้
                ๒. ให้นักเรียนศึกษาความรู้เรื่อง หลักการแต่งอินทรวิเชียรฉันท์  ๑๑  แล้วร่วมกันสรุปความเข้าใจ
ครูเป็นผู้อธิบายเพิ่มเติม
                ๓.   ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม   กลุ่มละ ๕-๖ คน  แข่งขันต่อคำประพันธ์ประเภทอินทรวิเชียรฉันท์  ๑๑  กลุ่มละ ๑ วรรค โดยวรรคแรกครูเป็นผู้กำหนด  แล้วให้แต่ละกลุ่มแข่งขันแต่งต่อ
                ๔.   ให้นักเรียนทำใบงาน เรื่อง  การแต่งอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑  ครูตรวจสอบผลงานของนักเรียนเป็นรายบุคคล  แล้วคัดเลือกผลงานที่น่าชื่นชมมาจัดแสดงบนป้ายนิเทศ 
                ๕.   นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้  ดังนี้                             
                        ò อินทรวิเชียรฉันท์   ๑๑หนึ่ง   บทมี ๔ วรรค  วรรคหน้ามี ๕ คำ  วรรคหลังมี ๖ คำ 
มีครุ  ลหุอย่างไร   มีทั้งสัมผัสนอกและสัมผัสใน  การเข้าใจหลักการแต่งบทร้อยกรอง  ทำให้แต่งบทร้อยกรองได้ไพเราะและได้ใจความ
                ๖.    ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น  โดยครูใช้คำถามท้าทาย  ดังนี้
                        ò อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑   ฝึกให้นักเรียนใช้ความคิดในเรื่องใดบ้าง  อย่างไร
ชั่วโมงที่  ๑๐
            ๑.     ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ  
            ๒.     ให้ศึกษาใบความรู้เรื่อการเขียนเรียงความ
            ๓.    ให้นักเรียนเขียนเรียงความ  โดยกำหนดให้มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ พ่อ แม่ และครู  กำหนดส่งในวันต่อไป
สื่อการเรียน
          ๑.   ใบความรู้ เรื่องอินทรวิเชียรฉันท์
          .  แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน เรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ
          . ใบงานเรื่องบทนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจาริยคุณ
          .  ใบความรู้เพลงใครหนอ  และเพลงพระคุณที่สาม
          . ใบความรู้เรื่องการเขียนเรียงความ
          ๖.   ใบงาน เรื่อง  การแต่งอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ 
                ๗.   แถบบันทึกเสียง
แหล่งการเรียนรู้
. ห้องสมุด
.  อินเทอร์เน็ท
. หนังสือพิมพ์/วารสาร
การวัดและประเมินผล
          ผู้ประเมิน
          ครูผู้สอน เพื่อนนักเรียนและตัวนักเรียน

  สิ่งที่ต้องการประเมิน
                   ๑.  การทำงานร่วมกัน
                   .   การนำเสนอผลงานกลุ่ม
                   .   ผลงาน
                   .   การอ่านทำนองเสนาะ
                   ๕.   ผลสัมฤทธิของการเรียน
  ประเด็นการประเมิน  
.  การทำงานร่วมกัน
                   ) คณะทำงาน
                   ) ความรับผิดชอบต่อหน้าที่
                   )  ขั้นตอนการทำงาน
)  เวลา
                   )  ความร่วมมือในการทำงาน
          .  การนำเสนอผลงานกลุ่ม
                   ) กลวิธีการนำเสนอ
                   )  เนื้อหา
                   )  ภาษา
) เวลา
. ผลงาน
                   ) ภาษา
                   ) เนื้อหา
.  ผลสัมฤทธิของการเรียน
คะแนนทดสอบ ก่อน-หลังเรียน






เกณฑ์การให้คะแนน
.  เกณฑ์การประเมินการทำงานกลุ่ม

ประเด็น

เกณฑ์การให้คะแนน

การประเมิน

.คณะทำงาน
มีประธาน  เลขานุการ  ผู้นำเสนอ  ผู้ร่วมงาน
ขาดองค์ประกอบ อย่าง
ขาดองค์ประกอบ อย่าง
ขาดองค์ประกอบ อย่าง
. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่
ทุกคนมีหน้าที่และรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน
มีผู้มีหน้าที่ แต่ไม่รับผิดชอบ ๑คน
มีผู้มีหน้าที่ แต่ไม่รับผิดชอบ ๒คน
มีผู้มีหน้าที่ แต่ไม่รับผิดชอบ ๒คนขึ้นไป
. ขั้นตอนการทำงาน
)วางแผนการทำงาน
)แบ่งภาระงาน
)  ปฏิบัติตามแผนและภารงาน
)  พัฒนางานร่วมกัน
ขาด ๑ขั้นตอน หรือไม่ชัดเจน
ขาด ๒ขั้นตอน หรือไม่ชัดเจน
ขาด มากกว่า๒ขั้นตอนขึ้นไป
. เวลา
เสร็จก่อนกำหนด และงาน
มีคุณภาพ
เสร็จตามกำหนด
และงานมีคุณภาพ
เสร็จไม่ทันตามกำหนดแต่งานมีคุณภาพ
เสร็จไม่ทันตามกำหนดและงานไม่มีคุณภาพ
.ความร่วมมือในการทำงาน
ทุกคนมีส่วนร่วมและให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่
ร้อยละ ๘๐ ของกลุ่มมีส่วนร่วมและให้ความร่วมมือ
ร้อยละ ๖๐ ของกลุ่มมีส่วนร่วมและให้ความร่วมมือ
ร้อยละ ๔๐ของกลุ่มมีส่วนร่วมและให้ความร่วมมือ

.   เกณฑ์การประเมินการนำเสนอผลงานกลุ่ม

ประเด็น

เกณฑ์การให้คะแนน

การประเมิน

.กลวิธีการนำเสนอ
มีการนำเข้าสู่เนื้อเรื่อง
. มีความสัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง
. น่าสนใจชวนให้ติดตาม
. มีความมั่นใจในการนำเสนอ
ขาด ๑ขั้นตอน หรือไม่ชัดเจน
ขาด ๒ขั้นตอน หรือไม่ชัดเจน
ขาด มากกว่า๒ขั้นตอนขึ้นไป
. เนื้อหา
. มีการเรียงลำดับเนื้อหา
.เนื้อหามีความต่อเนื่อง
. เนื้อหาสอคล้อง
. เนื้อหามีสาระประโยชน์
ขาด ๑ขั้นตอน หรือไม่ชัดเจน
ขาด ๒นตอน หรือไม่ชัดเจน
ขาด มากกว่า๒ขั้นตอนขึ้นไป
. ภาษา
. ออกเสียงถูกต้องตามอักขรวิธี
   เสียงดังฟังชัดเจน
. ใช้ภาษาเหมาะสม
. ใช้ภาษาเข้าใจง่าย
. มีการใช้สำนวนโวหาร
ขาด ๑ขั้นตอน หรือไม่ชัดเจน
ขาด ๒ขั้นตอน หรือไม่ชัดเจน
ขาด มากกว่า๒ขั้นตอนขึ้นไป
. เวลา
พูดจบเนื้อหา ภายในเวลาที่กำหนด
ใช้เวลามากหรือน้อยกว่าที่กำหนดไม่เกิน    นาที
ใช้เวลามากหรือน้อยกว่าที่กำหนดไม่เกิน    นาที
ใช้เวลามากหรือน้อยกว่าที่กำหนดมากกว่า  นาที

.   เกณฑ์การประเมินการนำเสนอผลงาน

ประเด็น

เกณฑ์การให้คะแนน

การประเมิน

.ภาษา
. เขียนคำและวลีสอดคล้องกับเนื้อหา
. เรียบเรียงประโยค  สอดคล้องกับเนื้อหา
. ใช้คำเชื่อมโยงถ้อยคำได้สละสลวย
. มีการใช้ภาษาอย่างสร้างสรรค์
. เขียนคำและวลีสอดคล้องกับ     เนื้อหา
. เรียบเรียงประโยค  สอดคล้องกับเนื้อหา
. ใช้คำเชื่อมโยงถ้อยคำได้สละสลวย
เขียนคำและวลีสอดคล้องกับ   เนื้อหา
. เรียบเรียงประโยค  สอดคล้องกับเนื้อหา


เขียนคำและวลีสอดคล้องกับ เนื้อหา

. เนื้อหา
. เนื้อหาตรงกับข้อเท็จจริง
. เนื้อหาเป็นไปตามลำดับขั้นตอน
.รายละเอียดครอบคลุม
.เนื้อหาสอดคล้องกับงาน
. เนื้อหาตรงกับข้อเท็จจริง
. เนื้อหาเป็นไปตามลำดับขั้นตอน
.รายละเอียดครอบคลุม
. เนื้อหาตรงกับข้อเท็จจริง
. เนื้อหาเป็นไปตามลำดับขั้นตอน

 เนื้อหาตรงกับข้อเท็จจริง



๔.  เกณฑ์การประเมิน  ผลสัมฤทธิของการเรียน  การทำแบบทดสอบหลังเรียน
          ทำคะแนน ได้   -๑๐   อยู่ในระดับ    ดีมาก
          ทำคะแนน ได้   -    อยู่ในระดับ    ดี
          ทำคะแนน ได้           อยู่ในระดับ    พอใช้
          ทำคะแนน ได้          อยู่ในระดับ    ผ่านเกณฑ์
          ทำคะแนน ได้ต่ำกว่า      อยู่ในระดับ    ไม่ผ่านต้องปรับปรุง
๕.  เกณฑ์การประเมินผล
          ๑๐.. การประเมินการทำงานกลุ่ม  ต้องได้ระดับ 
          ๑๐..  การประเมินการนำเสนอผลงานกลุ่ม  ต้องได้ระดับ  
                   ๑๐..  การประเมินผลงาน    ต้องได้ระดับ    
                   ๑๐..   การประเมินการอ่านทำนองเสนาะ   ต้องได้ ระดับ 
๑๐..   การประเมินผลสัมฤทธิของการเรียน  การทดสอบหลังเรียน  ต้องได้ระดับ     ผ่านเกณฑ์



         
           
















ใบความรู้เพลงใครหนอ                                                            

                                                ศรีไศล  สุชาติวุฒิ  
                                                           ใครหนอ รักเราเท่าชีวี
                                                ใครหนอ  ปรานีไม่มีเสื่อมคลาย
                                                ใครหนอ  รักเราใช่เพียงรูปกาย
                                                รักเขาไม่หน่าย  มิคิดทำลาย  ใครหนา
                                                ใครหนอ  เห็นเราเศร้าทรวงใน
                                                ใครหนอ  เอาใจปลอบเราเรื่อยมา
                                                ใครหนอ  รักเราดังดวงแก้วตา
                                                รักเขากว้างกว่าพื้นพสุธา  นภากาศ
                                                จะเอาโลกมาทำปากกา
                                                แล้วเอานภามาแทนกระดาษ
                                                เอาน้ำหมดมหาสมุทรแทนหมึกวาด
                                                ประกาศพระคุณไม่พอ
                                                ใครหนอ  รักเราเท่าชีวัน  (เท่าชีวัน)
                                                ใครหนอ  ใครกันให้เราขี่คอ  (คุณพ่อ คุณแม่)
                                                ใครหนอ  ชักชวนดูหนังสี่จอ
                                                รู้แล้วล่ะก็  อย่ามัวรั้งรอ  ทดแทนบุญคุณ





















ใบความรู้  อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
 


          อินทรวิเชียรฉันท์  มีรูปแบบดังนี้








          สัญลักษณ์           แทนเสียง  หนัก  ( ครุ )

          สัญลักษณ์              แทนเสียง  เบา   ( ลหุ )

          คณะ   บทหนึ่งมี    บาท  คือบาทเอกและบาทโท  บาทหนึ่งๆมี    วรรค วรรคหน้า 
                     คำและวรรคหลัง 
          สัมผัสบังคับ
                   ๑.  คำสุดท้ายวรรคแรกบาทเอก  สัมผัสกับคำที่ ๓  หรือที่ ๑ หรือที่ ๒
    วรรคหลังในบาทเดียวกัน
๒.      คำสุดท้ายบาทเอกกับคำสุดท้ายวรรคแรกบาทโท
๓.       คำสุดท้ายบทแรกกับคำสุดท้ายบาทเอกของบทต่อไป
          สัมผัสพิเศษ   
                   อาจเพิ่มสัมผัสสระหรือสัมผัสอักษรภายในวรรคแต่ละวรรค
          โอกาสที่ควรใช้ 
                    ใช้บรรยายหรือพรรณนาความทั่วไปหรือคร่ำครวญรำพัน







ใบความรู้  วสันตดิลกฉันท์
 




          สัญลักษณ์           แทนเสียง  หนัก  ( ครุ )

          สัญลักษณ์             แทนเสียง  เบา   ( ลหุ )

          คณะ   บทหนึ่งมี    บาท  คือบาทเอกและบาทโท  บาทหนึ่งๆมี    วรรค วรรคหน้า 
                     คำและวรรคหลัง 
          สัมผัสบังคับ
                   ตามแผนผังบังคับ
          สัมผัสพิเศษ   
                   อาจเพิ่มสัมผัสสระหรือสัมผัสอักษรภายในวรรคแต่ละวรรค
          โอกาสที่ควรใช้ 
                   ใช้ในความสรรเสริญ  ความชมเชย  หรือความศักดิ์สิทธิ์








          แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน 
แบบทดสอบหลังเรียน
บทที่ ๑ นมัสการมาตาปิตุคุณฯ
 



            คำชี้แจง    ตอนที่    ให้นักเรียนเลือกตอบคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

            ๑.   บทนมัสการมาตาปิตุคุณและนมัสการอาจริยคุณ แต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดใด
                        ก.  วสันตดิลกฉันท์                             ข.  อินทรวิเชียรฉันท์
                        ค.  ลิลิต                                               ง.  กาพย์สุรางคนางค์ ๑๖
            ๒.  ผู้แต่ง นมัสการมาตาปิตุคุณฯ คือใคร
                        ก.  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
                        ข.  กรมหมื่นนราทิพย์ประพันธ์พงศ์
                        ค. กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
                        ง.  พระยาศรีสุนทรโวหาร
            ๓.  ไป่เผือก็เพื่อดรุณชาญ คำประพันธ์วรรคนี้เวลาอ่านต้องเน้นเสียงหนักเบา
      ตามรูปแบบวสันตดิลกฉันท์อย่างไร
                        ก.  ครุ ครุ ลหุ ครุ ลหุ ลหุ ลหุ ครุ         ข.  ลหุ ครุ ครุ ลหุ ลหุ ครุ ลหุ
                        ค.  ครุ ครุ ลหุ ครุ ลหุ ลหุ ครุ ครุ         ง.  ครุ ครุ ลหุ ลหุ ครุ ครุ ครุ ลหุ
            ๔.  คำประพันธ์ใน บทนมัสการมาตาปิตุคุณ มีเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งใด
                        ก.  บูชา ยกย่องพระคุณของพ่อแม่      
ข.  บูชา ยกย่องพระคุณของครู
                        ค.  บูชา ยกย่องพระคุณของพ่อแม่  และพี่                                          
ง.  บูชา ยกย่องพระคุณของพ่อแม่และครู
            ๕.  คำว่า คำ ในบทร้อยกรองทั่วไปหมายถึงอะไร
                        ก.  พยางค์ที่มีความหมาย       
ข. พยางค์ที่ไม่มีความหมาย
ค.  พยางค์ที่มีหรือไม่มีความหมายก็ได้                                  
ง.  คำที่มีออกเสียงครั้งเดียวและความหมาย

            ๖.  สัญลักษณ์    แทนเสียงใดในการอ่านฉันท์
                        ก.  เสียงสูง                                          ข.  เสียงต่ำ
                        ค.  เสียงเบา                                         ง.  เสียงหนัก
            ๗.  คำใดมีความหมายแตกต่างจากคำว่า มาตา
                        ก.  ชนนี                                               ข.  มารดร
                        ค.  แม่                                                  ง.  บิตุรงค์
            ๘.  คำว่า แดนไตร หมายถึงที่ใดบ้าง
                        ก.  พรหมโลก   เทวโลก  และมนุษย์โลก
                        ข.  โลกสวรรค์  โลกมนุษย์  และเทวโลก
                        ค.  โลกบาดาล  โลกมนุษย์  และ โลกสวรรค์
                        ง.  เทวโลก  มนุษย์โลก  และโลกสวรรค์
            ๙.  คำใดที่มีความหมายเหมือนกับคำว่า บำราศ
                        ก.  บำเพ็ญ                                           ข.  นิราศ
                        ค.  จรลี                                                            ง.  สัญจร
            ๑๐.  บทนมัสการมาตาปิตุคุณใช้อ่านด้วยทำนองใดจึงจะไพเราะ
                        ก.  ทำนองกลอนสุภาพทั่วไป              ข.  ทำนองสรภัญญะ
                        ค.  ทำนองโอดครวญ                          ง.   ทำนองเพลงไทยเดิม
            ๑๑.  บทนมัสการมาตาปิตุคุณแต่งในสมัยใด
                        ก.  รัชกาลที่                                      ข.  รัชกาลที่ 
                        ค.  รัชกาลที่                                     ง.  รัชกาลที่ 
            ๑๒.  ปางเมื่อพระองค์ปรมพุท -       ธวิสุทธศาสดา
                       ตรัสรู้อนุตรสมา -                      ธิณโพธิบัลลังก์
                 บทร้อยกรองนี้เป็นคำประพันธ์ประเภทใด
                        ก.  กลอนสุภาพ                                   ข. อินทรวิเชียรฉันท์
                        ค.  วสันตดิลกฉันท์                             ง.  สัททุลวิกกีฬิตฉันท์


            ๑๓.  สั่งสมอุดมคติประพฤติ             นรยึดประคองธรรม
                        ครูชี้วิถีทุษอนันต์                     อนุสาสน์ประภาษสอน
                   บทประพันธ์นี้เป็นคำประพันธ์ชนิดใด
                        ก.  กลอนสุภาพ                                   ข. อินทรวิเชียรฉันท์
                        ค.  วสันตดิลกฉันท์                             ง.  สัททุลวิกกีฬิตฉันท์
            ๑๔.  วสันตดิลกฉันท์    บาทมีกี่คำ
                        ก.  ๑๑  คำ                                           ข.  ๑๔  คำ
                        ค.  ๑๖  คำ                                           ง.  ๒๐  คำ
            ๑๕.  อินทรวิเชียรฉันท์    บาทมีกี่คำ
                        ก.  ๑๑  คำ                                           ข.  ๑๔  คำ
                        ค.  ๑๖  คำ                                           ง.  ๒๐  คำ
๑๖.  บูชไนย  มีความหมายเหมือนกับคำใด
            ก.  บูชายันต์                                        ข.  บูชาคุณ
            ค.  ปูชนีย์                                             ง.  จริยคุณ                  
๑๗.  คำประพันธ์ประเภทใดที่มักเปรียบความงดงามเหมือนแก้วของพระอินทร์
                        ก.  กลอนสุภาพ                                   ข. อินทรวิเชียรฉันท์
                        ค.  วสันตดิลกฉันท์                             ง.  สัททุลวิกกีฬิตฉันท์
            ๑๘.   ความงามด้านวรรณศิลป์ของบทนมัสการมาตาปิตุคุณ ฯ อยู่ที่ใด
                        ก.  ความไพเราะของการอ่าน              ข.  ความขลังของภาษาที่ใช้
                        ค.  ความสวยงามของคำ                     ง.  ความหมายของคำ
            ๑๙. กวีร่วมสมัยท่านใดที่มีลีลาการแต่งกลอนคล้ายสุนทรภู่มากที่สุด
                        ก.  ชาติ    กอบกิตติ                             ข.  จิตร   ภูมิศักดิ์
                        ค.  ธีรยุทธ    บุญมี                               ง.  เนาวรัตน์    พงษ์ไพบูลย์
            ๒๐.  คำฉันท์ประเภทใดนิยมใช้แต่งเพื่อไหว้ครูหรือยอพระเกียรติ
                        ก.  อินทรวิเชียรฉันท์                           ข.  ภุชงคประยาตฉันท์
                        ค.  วสันตดิลกฉันท์                             ง.  สัททุลวิกกีฬิตฉันท์


เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน

            1.                   2.                   3.                   4.                   5. 
            6.                   7.                   8.                   9.                   10. 
            11.                 12.                 13.                 14.                 15. 
            16.                 17.                 18.                 19.                 20. 














1 ความคิดเห็น: