วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4

  แผนการจัดการเรียนรู้ที่                 
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                               ชั้นมัธยมศึกษาปีที่       
หน่วยการเรียนรู้       เรื่องทุกข์ของชาวนาในบทกวี     รายวิชาภาษาไทย      รหัสวิชา     ๓๑๑๐๑
เวลาเรียน     ชั่วโมง
…………………………………………………………………
มาตรฐานการเรียนรู้  
ท๑.๑                      ตัวชี้วัด   ม.๔-๖/๑-๙
ท๕.๑                     ตัวชี้วัด   ม.๔-๖/๑-๖
ท๒.๑                     ตัวชี้วัด   ม๔-๖/๒, ม๔-๖/๓,ม๔-๖/๘
ท๓.๑                     ตัวชี้วัด  ม.๔-๖/๑-๖
ท๔.๑                     ตัวชี้วัด  ม.๔-๖/๒,ม๔-๖/๗
สาระสำคัญ
          เรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี เป็นบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ            สยามบรมราชกุมารี ซึ่งอยู่ในหนังสือมณีพลอยร้อยแสง มีแนวคิดแสดงให้เห็นความทุกข์ยากใน              การดำเนินชีวิตของชาวนาในบทกวีของทั้งไทยและจีน ซึ่งแม้เวลาจะผ่านมานานเท่าใด แต่ภาพ                 ความยากลำบากของชาวนานั้นก็ยังคงอยู่และสร้างความสะเทือนใจไปทุกยุคสมัย

จุดประสงค์การเรียนรู้      
          ๑.     อธิบายลักษณะงานเขียนประเภทบทความ (K)
          ๒.   ตีความ  แปลความ  สรุปใจความสำคัญของเรื่อง (K)
          ๓.    วิเคราะห์และวิจารณ์เรื่องที่อ่าน (P)
          ๔.    เขียนบทความ (P)
         ๕.   มีมารยาทในการอ่าน  (A)
        ๖.    มีมารยาทในการฟัง  ดู  พูด  (A)
      สาระการเรียนรู้  
     ๑.     ความรู้                 
การประเมินผล
         -ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
             - บทความ
    ๒.   ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด
              การให้เหตุผล  การจัดระบบความคิดเป็นแผนภาพ  การสังเคราะห์ การปฏิบัติ/การสาธิต  
                การแก้ปัญหา  การประยุกต์/การปรับปรุง  การประเมินค่า  การสรุปความรู้
    ๓. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
          ซื่อสัตย์สุจริต  มีวินัย  ใฝ่เรียนรู้  มุ่งมั่นในการทำงาน  รักความเป็นไทย 
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
                    ชั่วโมงที่ 
            ๑.     ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ  
            ๒.     นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน   เรื่อง  ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
         ๓.      นำหนังสือพิมพ์มาแจกให้นักเรียนอ่านและคัดเลือกบทความมาอ่านเป็นตัวอย่าง ประมาณ ๒-๓  บทความ
         ๔.   นำใบความรู้เรื่องบทความให้นักเรียนศึกษา พร้อมอธิบายเพิ่มเติม
         ๕.ให้นักเรียนบทความคนละ    เรื่อง  ส่งครู
            ชั่วโมงที่  ๒-๕
  ๑. ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น โดยครูใช้คำถามท้าทาย ดังนี้
                       ò  เพราะเหตุใดชาวนาจึงยังคงทุกข์ยาก
๒.   ให้นักเรียนฟังเพลง เขมรไล่ควาย จากแถบบันทึกเสียง  แล้วสนทนาตามหัวข้อต่อไปนี้                                                      ž               สาระสำคัญของเพลง         
                        ž     ภาพชีวิตของชาวนาที่สะท้อนจากเพลง
                        ž     ข้อคิดที่ได้
๓.   ให้นักเรียนอ่านบทนำเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี แล้วบันทึกสาระสำคัญ
๔.   ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๖  กลุ่ม อ่านเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี แล้ววิเคราะห์เรื่อง จากประเด็นที่กำหนดให้กลุ่มละ ๑ ประเด็น ดังนี้
                        กลุ่มที่ ๑        ทุกข์ของชาวนาไทยและชาวนาจีนเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร
                        กลุ่มที่ ๒       ความรู้สึกที่เกิดจากการอ่านบทกวีไทยและบทกวีของจีนเหมือนกัน
                                                หรือไม่ อย่างไร
                        กลุ่มที่ ๓        คำว่า เหงื่อ ในบทกวีไทยและจีน ทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกแตกต่างกัน
                                                หรือไม่ อย่างไร
                        กลุ่มที่ ๔        กลวิธีการเขียนของกวีไทยกับกวีจีนต่างกันหรือไม่ อย่างไร
                        กลุ่มที่ ๕        นักเรียนมีแนวทางแก้ไขปัญหาให้ชาวนาในปัจจุบันอย่างไร
                        กลุ่มที่ ๖        นักเรียนมีแนวทางแก้ไขปัญหาให้ชาวนาในปัจจุบันอย่างไร
                        ตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจสอบความถูกต้อง
               ๕.    ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มสนทนาเกี่ยวกับปัญหาของชาวนา เขียนแผนภาพความคิด   แสดงสาเหตุของปัญหา ผลกระทบที่เกิดจากปัญหา และนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา ตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
               ๖.     ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ ดังนี้
        ò   เรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี เป็นบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งอยู่ในหนังสือมณีพลอยร้อยแสง มีแนวคิดแสดงให้เห็น  ความทุกข์ยากในการดำเนินชีวิตของชาวนาในบทกวีของทั้งไทยและจีน ซึ่งแม้เวลาจะผ่านมา นานเท่าใด แต่ภาพความยากลำบากของชาวนานั้นก็ยังคงอยู่และสร้างความสะเทือนใจไปทุกยุคสมัย
               ๗.    ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการเกษตรกรรมของไทยจากแหล่งข้อมูลสารสนเทศ แล้วบันทึกชื่อเว็บไซต์และรายละเอียด จากนั้นนำความรู้มาแลกเปลี่ยนกันในชั่วโมงถัดไป
            ๘. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน   เรื่อง  ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
สื่อการเรียน
          ๑.   ใบความรู้ เรื่องบทความ
          .  แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน เรื่องทุกข์ของชาวนาในบทกวี
         . ใบงานเรื่องนักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน   เรื่อง  ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
          .  ใบความรู้เพลงเขมรไล่ควาย 
                ๗.   แถบบันทึกเสียง
แหล่งการเรียนรู้
. ห้องสมุด
.  อินเทอร์เน็ท
. หนังสือพิมพ์/วารสาร
การวัดและประเมินผล
          ผู้ประเมิน
          ครูผู้สอน เพื่อนนักเรียนและตัวนักเรียน

  สิ่งที่ต้องการประเมิน
                   ๑.  การทำงานร่วมกัน
                   .   การนำเสนอผลงานกลุ่ม
                   .   ผลงาน
                   .   การอ่านทำนองเสนาะ
                   ๕.   ผลสัมฤทธิของการเรียน
  ประเด็นการประเมิน  
.  การทำงานร่วมกัน
                   ) คณะทำงาน
                   ) ความรับผิดชอบต่อหน้าที่
                   )  ขั้นตอนการทำงาน
)  เวลา
                   )  ความร่วมมือในการทำงาน
          .  การนำเสนอผลงานกลุ่ม
                   ) กลวิธีการนำเสนอ
                   )  เนื้อหา
                   )  ภาษา
) เวลา
. ผลงาน
                   ) ภาษา
                   ) เนื้อหา
.  ผลสัมฤทธิของการเรียน
คะแนนทดสอบ ก่อน-หลังเรียน
เกณฑ์การให้คะแนน
.  เกณฑ์การประเมินการทำงานกลุ่ม

ประเด็น

เกณฑ์การให้คะแนน

การประเมิน

.คณะทำงาน
มีประธาน  เลขานุการ  ผู้นำเสนอ  ผู้ร่วมงาน
ขาดองค์ประกอบ อย่าง
ขาดองค์ประกอบ อย่าง
ขาดองค์ประกอบ อย่าง
. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่
ทุกคนมีหน้าที่และรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน
มีผู้มีหน้าที่ แต่ไม่รับผิดชอบ ๑คน
มีผู้มีหน้าที่ แต่ไม่รับผิดชอบ ๒คน
มีผู้มีหน้าที่ แต่ไม่รับผิดชอบ ๒คนขึ้นไป
. ขั้นตอนการทำงาน
)วางแผนการทำงาน
)แบ่งภาระงาน
)  ปฏิบัติตามแผนและภารงาน
)  พัฒนางานร่วมกัน
ขาด ๑ขั้นตอน หรือไม่ชัดเจน
ขาด ๒ขั้นตอน หรือไม่ชัดเจน
ขาด มากกว่า๒ขั้นตอนขึ้นไป
. เวลา
เสร็จก่อนกำหนด และงาน
มีคุณภาพ
เสร็จตามกำหนด
และงานมีคุณภาพ
เสร็จไม่ทันตามกำหนดแต่งานมีคุณภาพ
เสร็จไม่ทันตามกำหนดและงานไม่มีคุณภาพ
.ความร่วมมือในการทำงาน
ทุกคนมีส่วนร่วมและให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่
ร้อยละ ๘๐ ของกลุ่มมีส่วนร่วมและให้ความร่วมมือ
ร้อยละ ๖๐ ของกลุ่มมีส่วนร่วมและให้ความร่วมมือ
ร้อยละ ๔๐ของกลุ่มมีส่วนร่วมและให้ความร่วมมือ

.   เกณฑ์การประเมินการนำเสนอผลงานกลุ่ม

ประเด็น

เกณฑ์การให้คะแนน

การประเมิน

.กลวิธีการนำเสนอ
มีการนำเข้าสู่เนื้อเรื่อง
. มีความสัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง
. น่าสนใจชวนให้ติดตาม
. มีความมั่นใจในการนำเสนอ
ขาด ๑ขั้นตอน หรือไม่ชัดเจน
ขาด ๒ขั้นตอน หรือไม่ชัดเจน
ขาด มากกว่า๒ขั้นตอนขึ้นไป
. เนื้อหา
. มีการเรียงลำดับเนื้อหา
.เนื้อหามีความต่อเนื่อง
. เนื้อหาสอคล้อง
. เนื้อหามีสาระประโยชน์
ขาด ๑ขั้นตอน หรือไม่ชัดเจน
ขาด ๒นตอน หรือไม่ชัดเจน
ขาด มากกว่า๒ขั้นตอนขึ้นไป
. ภาษา
. ออกเสียงถูกต้องตามอักขรวิธี
   เสียงดังฟังชัดเจน
. ใช้ภาษาเหมาะสม
. ใช้ภาษาเข้าใจง่าย
. มีการใช้สำนวนโวหาร
ขาด ๑ขั้นตอน หรือไม่ชัดเจน
ขาด ๒ขั้นตอน หรือไม่ชัดเจน
ขาด มากกว่า๒ขั้นตอนขึ้นไป
. เวลา
พูดจบเนื้อหา ภายในเวลาที่กำหนด
ใช้เวลามากหรือน้อยกว่าที่กำหนดไม่เกิน    นาที
ใช้เวลามากหรือน้อยกว่าที่กำหนดไม่เกิน    นาที
ใช้เวลามากหรือน้อยกว่าที่กำหนดมากกว่า  นาที








.   เกณฑ์การประเมินการนำเสนอผลงาน

ประเด็น

เกณฑ์การให้คะแนน

การประเมิน

.ภาษา
. เขียนคำและวลีสอดคล้องกับเนื้อหา
. เรียบเรียงประโยค  สอดคล้องกับเนื้อหา
. ใช้คำเชื่อมโยงถ้อยคำได้สละสลวย
. มีการใช้ภาษาอย่างสร้างสรรค์
. เขียนคำและวลีสอดคล้องกับ     เนื้อหา
. เรียบเรียงประโยค  สอดคล้องกับเนื้อหา
. ใช้คำเชื่อมโยงถ้อยคำได้สละสลวย
เขียนคำและวลีสอดคล้องกับ   เนื้อหา
. เรียบเรียงประโยค  สอดคล้องกับเนื้อหา


เขียนคำและวลีสอดคล้องกับ เนื้อหา

. เนื้อหา
. เนื้อหาตรงกับข้อเท็จจริง
. เนื้อหาเป็นไปตามลำดับขั้นตอน
.รายละเอียดครอบคลุม
.เนื้อหาสอดคล้องกับงาน
. เนื้อหาตรงกับข้อเท็จจริง
. เนื้อหาเป็นไปตามลำดับขั้นตอน
.รายละเอียดครอบคลุม
. เนื้อหาตรงกับข้อเท็จจริง
. เนื้อหาเป็นไปตามลำดับขั้นตอน

 เนื้อหาตรงกับข้อเท็จจริง



๔.  เกณฑ์การประเมิน  ผลสัมฤทธิของการเรียน  การทำแบบทดสอบหลังเรียน
          ทำคะแนน ได้   -๑๐   อยู่ในระดับ    ดีมาก
          ทำคะแนน ได้   -    อยู่ในระดับ    ดี
          ทำคะแนน ได้           อยู่ในระดับ    พอใช้
          ทำคะแนน ได้          อยู่ในระดับ    ผ่านเกณฑ์
          ทำคะแนน ได้ต่ำกว่า      อยู่ในระดับ    ไม่ผ่านต้องปรับปรุง
๕.  เกณฑ์การประเมินผล
          ๑๐.. การประเมินการทำงานกลุ่ม  ต้องได้ระดับ 
          ๑๐..  การประเมินการนำเสนอผลงานกลุ่ม  ต้องได้ระดับ  
                   ๑๐..  การประเมินผลงาน    ต้องได้ระดับ    
                   ๑๐..     การประเมินผลสัมฤทธิของการเรียน  การทดสอบหลังเรียน  ต้องได้ระดับ     ผ่านเกณฑ์



         

























          
แบบทดสอบก่อนเรียน
                   เรื่อง  ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย Ï ทับตัวอักษรหน้าคำตอบที่ถูกต้อง
๑.        เปิบข้าวทุกคราวคำ                                      จงสูจำเป็นอาจิณ
                         เหงื่อกูที่สูกิน                                                               จึงก่อเกิดมาเป็นคน
                คำที่ขีดเส้นใต้หมายถึงใคร
          ก.     ชาวชนบท
                ข.     ผู้ใช้แรงงาน
          ค.     ชาวนา
                ง.     เจ้าของที่นา
     ๒.     ข้อใดแสดงภาพขัดแย้งกัน
                ก.     เหงื่อหยดบนดินภายใต้ต้นข้าว
                ข.     ตอนอาทิตย์เที่ยงวัน ชาวนายังพรวนดิน
                ค.     รอบข้างไม่มีนาที่ไหนทิ้งว่าง แต่ชาวนาก็ยังอดตาย
                ง.     ใครจะรู้บ้างว่าในจานใบนั้น ข้าวแต่ละเม็ดคือความยากแค้นแสนสาหัส
๓.      สาระสำคัญในบทกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์ คือข้อใด
                ก.     เชิดชูเกียรติคุณชาวนา
                ข.     ประชดสังคมที่ทอดทิ้งชาวนา
                ค.     แสดงความทุกข์ยากของชาวนา
                ง.     ทวงสิทธิ์ให้ชาวนา
     ๔.      ข้อใดใช้สัมผัสอักษรเด่นชัดกว่าข้ออื่น
                ก.     เหงื่อหยดสักกี่หยาด
                ข.     ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
                ค.     ปูดโปนกี่เส้นเอ็น
                ง.     จึงแปรรวงมาเปิบกิน
     ๕.      ข้อใดมีคำซ้อน
                ก.     น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง
                ข.     และน้ำแรงอันหลั่งริน
                ค.     สายเลือดกูทั้งสิ้น
                ง.     ที่สูซดกำซาบฟัน

     ๖.      บทกวีไทยและจีนในเรื่องนี้มีส่วนที่เหมือนกันคือข้อใด
                ก.     กล่าวถึงความทุกข์ยากของชาวนา
                ข.     กล่าวถึงชาวนาผู้ยากไร้
                ค.     กล่าวถึงกระบวนการทำนา
                ง.     กล่าวถึงคุณค่าของชาวนา
๗.      ข้อใดไม่ใช่ความทุกข์ของชาวนาในเรื่องนี้
                ก.      ผลผลิตราคาตกต่ำ
                ข.      ไม่ได้รับสวัสดิการจากรัฐบาล
                ค.      ชาวนาละทิ้งอาชีพเกษตรกรรม
                ง.      ชาวนาถูกเอาเปรียบ
      ๘.     บทกวีไทยและจีนที่กล่าวถึงในเรื่องนี้มีส่วนที่แตกต่างกันคือข้อใด
                ก.      ความหมายของบทกวี
                ข.      แรงบันดาลใจในการแต่ง
                ค.      แนวคิดของกวี
                ง.       กลวิธีการเขียน
      ๙.     ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
                ก.      บทกวีไทยและจีนต่างกล่าวถึงเรื่องของชาวนา
                ข.      บทกวีไทยและจีนแต่งขึ้นเพื่อสะท้อนความรู้สึกเกี่ยวกับชาวนา
                ค.      บทกวีไทยบรรยายความทุกข์ของชาวนาได้ลึกซึ้งกว่าบทกวีจีน
                ง.       บทกวีไทยในเรื่องมีผู้นำมาขับร้องเป็นบทเพลง
      ๑๐.   สมัยที่ข้าพเจ้าได้เห็นเองก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันนัก ข้อความนี้มีความหมายว่าอย่างไร
                ก.      แม้โลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ชาวนาก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง
                ข.      แม้โลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ชาวนาก็ยังมีความทุกข์ยากตลอดมา
                ค.      แม้โลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ชาวนาก็ไม่มีคุณภาพชีวิต
                ง.       แม้โลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ชาวนาก็ไม่เคยพัฒนาตนเอง





แบบทดสอบหลังเรียน


 


                                               เรื่อง  ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย Ï ทับตัวอักษรหน้าคำตอบที่ถูกต้อง
๑.      ข้อใดไม่ใช่ความทุกข์ของชาวนาในเรื่องนี้
                ก.      ผลผลิตราคาตกต่ำ
                ข.      ไม่ได้รับสวัสดิการจากรัฐบาล
                ค.      ชาวนาละทิ้งอาชีพเกษตรกรรม
                ง.      ชาวนาถูกเอาเปรียบ
      ๒.    ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
                ก.      บทกวีไทยและจีนต่างกล่าวถึงเรื่องของชาวนา
                ข.      บทกวีไทยและจีนแต่งขึ้นเพื่อสะท้อนความรู้สึกเกี่ยวกับชาวนา
                ค.      บทกวีไทยบรรยายความทุกข์ของชาวนาได้ลึกซึ้งกว่าบทกวีจีน
                ง.       บทกวีไทยในเรื่องมีผู้นำมาขับร้องเป็นบทเพลง
   ๓.     บทกวีไทยและจีนที่กล่าวถึงในเรื่องนี้มีส่วนที่แตกต่างกันคือข้อใด
                ก.      ความหมายของบทกวี
                ข.      แรงบันดาลใจในการแต่ง
                ค.      แนวคิดของกวี
                ง.       กลวิธีการเขียน
     ๔.      บทกวีไทยและจีนในเรื่องนี้มีส่วนที่เหมือนกันคือข้อใด
                ก.     กล่าวถึงความทุกข์ยากของชาวนา
                ข.     กล่าวถึงชาวนาผู้ยากไร้
                ค.     กล่าวถึงกระบวนการทำนา
                ง.     กล่าวถึงคุณค่าของชาวนา
     ๕.                  เปิบข้าวทุกคราวคำ                                       จงสูจำเป็นอาจิณ
                         เหงื่อกูที่สูกิน                                                               จึงก่อเกิดมาเป็นคน
                คำที่ขีดเส้นใต้หมายถึงใคร
          ก.     ชาวชนบท
                ข.     ผู้ใช้แรงงาน
          ค.     ชาวนา
                ง.     เจ้าของที่นา
๖.      สาระสำคัญในบทกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์ คือข้อใด
                ก.     เชิดชูเกียรติคุณชาวนา
                ข.     ประชดสังคมที่ทอดทิ้งชาวนา
                ค.     แสดงความทุกข์ยากของชาวนา
                ง.     ทวงสิทธิ์ให้ชาวนา
     ๗.      ข้อใดแสดงภาพขัดแย้งกัน
                ก.     เหงื่อหยดบนดินภายใต้ต้นข้าว
                ข.     ตอนอาทิตย์เที่ยงวัน ชาวนายังพรวนดิน
                ค.     รอบข้างไม่มีนาที่ไหนทิ้งว่าง แต่ชาวนาก็ยังอดตาย
                ง.     ใครจะรู้บ้างว่าในจานใบนั้น ข้าวแต่ละเม็ดคือความยากแค้นแสนสาหัส
     ๘.      ข้อใดมีคำซ้อน
                ก.     น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง
                ข.     และน้ำแรงอันหลั่งริน
                ค.     สายเลือดกูทั้งสิ้น
                ง.     ที่สูซดกำซาบฟัน
     ๙.      ข้อใดใช้สัมผัสอักษรเด่นชัดกว่าข้ออื่น
                ก.     เหงื่อหยดสักกี่หยาด
                ข.     ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
                ค.     ปูดโปนกี่เส้นเอ็น
                ง.     จึงแปรรวงมาเปิบกิน
      ๑๐.  สมัยที่ข้าพเจ้าได้เห็นเองก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันนัก ข้อความนี้มีความหมายว่าอย่างไร
                ก.      แม้โลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ชาวนาก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง
                ข.      แม้โลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ชาวนาก็ยังมีความทุกข์ยากตลอดมา
                ค.      แม้โลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ชาวนาก็ไม่มีคุณภาพชีวิต
                ง.       แม้โลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ชาวนาก็ไม่เคยพัฒนาตนเอง





เฉลย  แบบทดสอบก่อนเรียน             เรื่อง  ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
         ๑.                          ๒.                          ๓.                            ๔.                             ๕.   
         ๖.                            ๗.                          ๘.                            ๙.                           ๑๐.   
เฉลย  แบบทดสอบหลังเรียน  เรื่อง  ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
         ๑.                          ๒.                          ๓.                            ๔.                             ๕.   
         ๖.                             ๗.                          ๘.                            ๙.                           ๑๐.   
 

































ใบความรู้
ความหมายและลักษณะของบทความ

 บทความจึงเป็นความเรียงประเภทหนึ่งซึ่งมีจุดประสงค์หลายลักษณะ เช่น เพื่อแสดงความรู้
เสนอข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ตั้งข้อสังเกต วิเคราะห์วิจารณ์ ฯลฯ โดยต้องเขียนอย่างมีหลักฐาน มีเหตุผล
น่าเชื่อถือ หากมีข้อเสนอแนะใดๆ ต้องเป็นไปในทางสร้างสรรค์
ประเภทของบทความ
เมื่อแบ่งตามเนื้อหา บทความจะแบ่งได้เป็น 11 ประเภท ได้แก่
1. บทบรรณาธิการ
เป็นบทความแสดงความคิดเห็นลักษณะหนึ่งที่เขียนขึ้นเพื่อเสนอแนวคิดหลักของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นๆ
ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
2. บทความสัมภาษณ์
เป็นบทความที่เขียนขึ้นจากการสัมภาษณ์บุคคลเกี่ยวกับความคิดเห็นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่อง
หรือเกี่ยวกับชีวิตของบุคคลนั้น หรือจากการสัมภาษณ์บุคคลหลายคนในหัวข้อเดียวกัน
3. บทความแสดงความคิดเห็นทั่วๆ ไป มีเนื้อหาหลายลักษณะ เช่น หยิบยกปัญหา เหตุการณ์
หรือเรื่องที่ประชาชนสนใจมาแสดงความคิดเห็น หรือผู้เขียนเสนอความคิดเห็นสนับสนุน หรือคัดค้าน
หรือทั้งสนับสนุนและคัดค้านความคิดเห็นในเรื่องเดียวกันของคนอื่นๆ เป็นต้น
4. บทความวิเคราะห์
เป็นบทความแสดงความคิดเห็นอย่างหนึ่งซึ่งผู้เขียนจะพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เผยแพร่มาแล้วอย่างละเอียด
ี โดยแยกแยะให้เห็นส่วนต่างๆ ของเรื่องนั้นผู้เขียนเสนอความคิดและวิเคราะห์เหตุการณ์เรื่องราวนั้นอย่างละเอียด                            แสดงข้อเท็จจริง เหตุผลเพื่อให้ผู้อ่านได้ความรู้ ความคิดเห็นเพิ่มเติม เกิดความคิดที่ชัดเจนยิ่งขึ้น แบ่งเป็น
บทความวิเคราะห์ข่าว และบทความวิเคราะห์ปัญหา
5. บทความวิจารณ์
เขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นในเชิงวิจารณ์เรื่องราวที่ต้องการวิจารณ์ด้วยเหตุผลและหลักวิชาเป็นสำคัญ เช่น
บทบรรณนิทัศน์ซึ่งแสดงความรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือที่พิมพ์ออกใหม่ เพื่อแนะนำหนังสือ
บทวิจารณ์วรรณกรรมแสดงความคิดเห็นเชิงวิจารณ์และประเมินค่าโดยใช้หลักวิชาและเหตุผล
เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักวรรณกรรมเรื่องนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง และบทวิจารณ์ศิลปะแขนงอื่นๆ
ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับบทวิจารณ์วรรณกรรมแต่นำผลงานที่เป็นศิลปะแขนงอื่นๆ เช่น ภาพยนตร์ ละคร ภาพเขียน
ดนตรี มาวิจารณ์

6. บทความสารคดีท่องเที่ยว มีเนื้อหาแนวบรรยาย เล่าเรื่องเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ
ที่มีทัศนียภาพสวยงามหรือมีความสำคัญในด้านต่างๆ เพื่อแนะนำให้ผู้อ่านรู้จักสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ
ชักชวนให้สนใจไปพบเห็นสถานที่นั้นๆ
7. บทความกึ่งชีวประวัติ เป็นการเขียนบางส่วนของชีวิตบุคคลเพื่อให้ผู้อ่านทราบ โดยเฉพาะคุณสมบัติ
หรือผลงานเด่นที่ทำให้บุคคลนั้นมีชื่อเสียง ประสบความสำเร็จในชีวิต เพื่อชื่นชม ยกย่อง เจ้าของประวัติ
และชี้ให้ผู้อ่านได้แง่คิดเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตให้ประสบความสำเร็จ
8. บทความครบรอบปี มีเนื้อหาแนวบรรยาย เล่าเรื่อง เกี่ยวกับเรื่องราว เหตุการณ์
พิธีการในเทศกาลหรือวันสำคัญ เช่น วันสำคัญทางศาสนา ทางประวัติศาสตร์ ทางวัฒนธรรม เกี่ยวกับบุคคลสำคัญ
เป็นต้น ที่ประชาชนสนใจเมื่อโอกาสนั้นมาถึง เช่น วันวิสาขบูชา วันคริสต์มาส เป็นต้น
9. บทความให้ความรู้ทั่วไป ผู้เขียนจะอธิบายให้ความรู้คำแนะนำในเรื่องทั่วๆไปที่ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน                       เช่น มารยาทการเข้าสังคม การแต่งกายให้เหมาะแก่กาลเทศะและบุคลิกภาพ   เคล็ดลับการครองชีวิตคู่ เป็นต้น
10. บทความเชิงธรรมะ จะอธิบายข้อธรรมะให้ผู้อ่านทั่วๆ ไปเข้าใจได้ง่าย หรือให้คติให้แนวทางการดำเนินชีวิตตาม                                แนวพุทธศาสนา เสนอหนทางแก้ปัญหาตามแนวพุทธปรัชญา  ปัจจุบันบทความลักษณะนี้มีมากขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านมีแนวทาง             การดำเนินชีวิตในสังคมที่วิกฤตได้อย่างปกติสุขมากขึ้น
11. บทความวิชาการ มีเนื้อหาแสดงข้อเท็จจริง ข้อความรู้ทางวิชาการเรื่องใดเรื่องหนึ่งในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งโดยเฉพาะ
ผู้เขียนอาจจะเสนอเฉพาะเนื้อหาสาระทางวิชาการหรือเสนอทั้งเนื้อหาสาระข้อเท็จจริงและแสดงความคิดเห็นในเชิงวิเคราะห์                 วิจารณ์ก็ได้ หรืออาจเสนอผลการวิจัย
การใช้ภาษาในการเขียนบทความ
การใช้ภาษาในการเขียนบทความควรพิจารณาใน 3 ประเด็น ได้แก่
1. ระดับภาษา
การเขียนบทความที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ควรพิจารณาใช้ระดับภาษาทั้ง 4 ระดับ ได้แก่ ภาษาปาก
ภาษาไม่เป็นทางการ ภาษากึ่งทางการ และภาษาทางการโดยผู้เขียนจะต้องเลือกใช้ระดับภาษาให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมาย                      กลุ่มผู้อ่านเช่น กรณีที่เขียนบทความแสดงความคิดเห็นทั่วๆ ไป บทความวิเคราะห์ข่าว บทความวิเคราะห์
ควรใช้ภาษาพูดในระดับไม่เป็นทางการ จนถึงภาษาพูดและภาษาเขียนระดับกึ่งทางการ  หากมีบางตอนหรือบางข้อความ                                      ที่ต้องการแสดงอารมณ์ ประชดประชัน เหน็บแนม อย่างชัดเจน  อาจจะใช้ภาษาพูดระดับภาษาปาก ที่ไม่หยาบคายก็ได้
กรณีเขียนบทความให้ความรู้ทั่วไป บทความสารคดีท่องเที่ยว ควรใช้ภาษาพูดในระดับภาษาปาก เพื่อให้เกิดความเป็นกันเอง                         กับผู้อ่าน จูงใจให้ผู้อ่านอยากอ่านและปฏิบัติตามคำแนะนำ หรืออาจจะใช้ภาษาพูดในระดับไม่เป็นทางการ หรือกึ่งทางการ                   ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของบทความ  และกลุ่มผู้อ่านอีกด้วย

กรณีเขียนบทความสัมภาษณ์ ควรใช้ภาษาให้เหมาะสมกับผู้ให้สัมภาษณ์ และเรื่องราวที่สัมภาษณ์
รวมทั้งกลุ่มผู้อ่าน ผู้เขียนจึงสามารถเลือกใช้ระดับภาษาได้ตั้งแต่ ภาษาพูดระดับภาษาปาก
จนถึงภาษาเขียนระดับทางการ

กรณีเขียนบทความกึ่งชีวประวัติ บทความวิจารณ์วรรณกรรม บทความวิจารณ์ศิลปะแขนงอื่นๆ
ซึ่งต้องการความน่าเชื่อถือ และให้เกียรติแก่งานวรรณกรรมหรือศิลปะ จึงควรใช้ภาษาระดับกึ่งทางการ
จนถึงภาษาในระดับทางการ
กรณีเขียนบทความเชิงธรรมะ และเชิงวิชาการ ควรใช้ภาษาเขียนกึ่งทางการจนถึงระดับทางการ
เพื่อให้เกิดความชัดเจน น่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม หากผู้เขียนต้องการสร้างเอกลักษณ์ หรือลีลาการเขียนเฉพาะตน
ก็สามารถเลือกใช้ระดับภาษาได้ตามความต้องการของตนเอง
2. โวหาร
กรณีเขียนบทความแสดงความคิดเห็นทั่วไป บทความวิเคราะห์ข่าว บทความวิเคราะห์ปัญหา
ควรใช้บรรยายโวหารเป็นหลัก มีโวหารประกอบ เช่น อุปมาโวหาร สาธกโวหาร เทศนาโวหาร เป็นต้น
เพื่อแสดงเหตุผลโน้มน้าวใจผู้อ่านกรณีเขียนบทความให้ความรู้ทั่วไป ควรเลือกใช้บรรยายโวหารเป็นหลัก มีโวหารประกอบ                      ได้แก่ สาธกโวหาร  เพื่อให้เกิดความชัดเจนแจ่มแจ้ง
กรณีเขียนบทความสารคดีท่องเที่ยว บางตอนควรเลือกใช้พรรณนาโวหาร เพื่อให้เห็นความงดงามของทัศนียภาพ
นอกเหนือจากการใช้บรรยายโวหาร ส่วนโวหารประกอบได้แก่ อุปมาโวหาร สาธกโวหาร
กรณีที่ต้องการเล่าเกร็ดความรู้ ตำนาน นิทานต่างๆ ประกอบสถานที่
กรณีเขียนบทความสัมภาษณ์ บทความกึ่งชีวประวัติ บทความวิจารณ์วรรณกรรม หรือศิลปะแขนงอื่นๆ บทความวิชาการ
ควรเลือกใช้บรรยายโวหารเป็นโวหารหลัก ส่วนโวหารประกอบได้แก่ สาธกโวหาร
กรณีเขียนบทความเชิงธรรมะ ควรเลือกใช้บรรยายโวหารเป็นโวหารหลัก ส่วนโวหารประกอบได้แก่ เทศนาโวหาร
อุปมาโวหาร และสาธกโวหาร
3. ภาพพจน์
การเขียนบทความควรเลือกใช้ภาพพจน์เพื่อสร้างภาพให้เกิดในความคิด
ตลอดจนเพื่อก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ หรือความรู้สึกของผู้อ่าน รวมทั้งแสดงอารมณ์
ความรู้สึกอย่างแท้จริงของผู้เขียน ภาพพจน์จะทำให้งานเขียนมีอรรถรสมากขึ้น
และแสดงลีลาการเขียนของผู้เขียนแต่ละคน บทความทุกชนิดสามารถใช้ภาพพจน์ได้ตามความเหมาะสม เช่น
บทความแสดงความคิดเห็นทั่วไป บทความวิเคราะห์ข่าว บทความวิเคราะห์ปัญหา มักจะใช้การอุปมา อุปลักษณ์
ปฏิภาคพจน์ อติพจน์ ปฏิปุจฉา นามนัย เป็นต้น
บทความสารคดีท่องเที่ยว มักจะเลือกใช้ภาพพจน์เช่น อุปมา อุปลักษณ์ บุคลาธิษฐาน อติพจน์ สัญลักษณ์
เป็นต้น
ส่วนบทความชนิดอื่นๆ มักจะเลือกใช้การอุปมา อุปลักษณ์ ปฏิปุจฉา เป็นต้น
แต่บทความวิชาการมักจะไม่ใช้ภาพพจน์ในการเขียนบทความประเภทนี้
เพราะต้องการแสดงข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา ชัดเจน มากกว่าจะให้เกิดภาพ หรืออรรถรส

ลักษณะของบทความที่ดี
บทความที่ดีควรมีลักษณะ 4 ประการ ดังนี้
1. มีเอกภาพ กล่าวคือ เนื้อหาของบทความมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
มีทิศทางของเนื้อหาเป็นไปในทางเดียวกัน เพื่อมุ่งสู่ประเด็นหลักที่ต้องการนำเสนอ
2. มีสารัตถภาพ กล่าวคือ ผู้เขียนต้องเน้นย้ำประเด็นสำคัญให้ชัดเจนว่าต้องการนำเสนอแนวคิดสำคัญอะไร
ด้วยประโยคใจความสำคัญ หรือสาระสำคัญที่โดดเด่น
เนื้อความตลอดเรื่องควรกล่าวย้ำประเด็นหลักของเรื่องเสมอๆ
3. มีสัมพันธภาพ กล่าวคือ มีความต่อเนื่องสัมพันธ์กันโดยตลอด ทั้งในด้านการเรียบเรียงถ้อยคำ ข้อความ
และการจัดลำดับเรื่อง ทุกประโยคในแต่ละย่อหน้า และทุกย่อหน้าในแต่ละเรื่องต้องเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน
ด้วยการใช้คำเชื่อมข้อความ ได้แก่ คำบุพบท เช่น กับ แต่ แด่ เพื่อ คำสันธาน เช่น และ รวมทั้ง ตลอดจน
นอกจากนี้ คำประพันธสรรพนาม เช่น ที่ ซึ่ง อัน เป็นต้น
4. มีความสมบูรณ์ กล่าวคือ มีความสมบูรณ์ในด้านเนื้อหา มีเนื้อความชัดเจนกระจ่างแจ้ง
อธิบายได้ครอบคลุมความคิดหลักที่ต้องการนำเสนอ ข้อมูลที่นำเสนอเป็นข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง
หากเป็นความคิดเห็นต้องมีความสมเหตุสมผล นอกจากนี้ต้องมีความสมบูรณ์ด้านการใช้ภาษา คือ
ต้องเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายการเขียน ประเภทของบทความ เนื้อหาบทความ และกลุ่มผู้อ่าน
นั่นเอง
ขั้นตอนการเขียนบทความ
1. การเลือกเรื่อง ควรคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังนี้
- เลือกเรื่องที่ตนเองสนใจ เป็นที่น่าสนใจ และคนส่วนใหญ่กำลังสนใจ ทันสมัย
ทันเหตุการณ์
- เลือกเรื่องที่ผู้เขียนมีความรู้ มีประสบการณ์
ตลอดจนเป็นเรื่องที่ผู้เขียนต้องการเสนอความคิดแก่ผู้อ่าน
- เลือกเรื่องที่ผู้เขียนสามารถหาแหล่งค้นคว้า หรือหาข้อมูลมานำเสนอในงานเขียนได้
- เลือกเรื่องที่มีความยาว ความยาก ความง่าย พอเหมาะกับความสามารถของผู้เขียน
เวลาที่ได้รับมอบหมาย หน้ากระดาษ และคอลัมน์ที่ตนรับผิดชอบ
2. กำหนดจุดมุ่งหมาย โดยกำหนดให้ชัดเจนว่าเขียนเพื่ออะไร เช่น ให้ความรู้
เสนอความเห็น โน้มน้าวใจ ให้แนวคิดในการดำเนินชีวิต เขียนให้ใครอ่าน เช่น กลุ่มมวลชน
กลุ่มผู้มีการศึกษาสูง เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ เป็นต้น
3. กำหนดแนวคิดสำคัญ หรือประเด็นสำคัญ หรือแก่นเรื่อง
ต้องกำหนดว่าบทความเรื่องนี้จะเสนอแนวคิดสำคัญ หรือมีแก่นเรื่องอะไรให้แก่ผู้อ่าน
เพื่อจะได้นำเสนอเนื้อหา ถ่ายทอดถ้อยคำประโยคต่างๆ เพื่อมุ่งสู่แก่นเรื่องนั้น

4. ประมวลความรู้ ความคิด ต้องค้นคว้าหาข้อมูลให้เพียงพอที่จะเขียน
จากแหล่งความรู้ต่างๆ หรือการสัมภาษณ์ผู้รู้ ผู้เกี่ยวข้อง เป็นต้น
5. วางโครงเรื่อง กำหนดแนวทางการเขียนว่าจะนำเสนอสาระสำคัญ แยกเป็นกี่ประเด็น
ประเด็นใหญ่ๆ มีอะไรบ้าง ในประเด็นหลักมีประเด็นย่อยๆ มีตัวอย่าง มีเหตุผล
เพื่อสนับสนุนประเด็นหลักอย่างไรบ้าง การวางโครงเรื่องจะช่วยให้เขียนเรื่องได้ง่าย ไปในทิศทางที่ต้องการ
ไม่สับสน ไม่กล่าวซ้ำซาก ไม่นอกเรื่อง
6. การเขียน ได้แก่
- การเขียนขยายความให้ข้อมูลในแต่ละประเด็น มีการอธิบาย ยกเหตุผลประกอบ กล่าวถึงข้อมูลประกอบ
อาจเป็นสถิติ ตัวเลข ตัวอย่างเหตุการณ์ ตำนาน นิทาน เป็นต้น
- เขียนคำนำและสรุปด้วยกลวิธีที่เหมาะสมกับประเภทของเนื้อหาบทความ
- การใช้ภาษา ควรเลือกใช้ให้เหมาะกับจุดมุ่งหมาย การเขียน ประเภทเนื้อหา ดังที่กล่าวมาแล้ว
- การสร้างลีลาการเขียนเฉพาะตัว
สร้างได้โดยการเลือกใช้ภาษาให้เป็นเอกลักษณ์ เช่นการใช้ระดับภาษาปาก เล่นคารมโวหาร มีคำเสียดสี
มีการแสดงความรู้สึกอย่างชัดเจน หรือมีการสร้างคำใหม่มาใช้อยู่เสมอๆ เป็นต้น












ตัวอย่างบทความ
( สุชัญญา วงค์เวสช์ เรียบเรียง)
วัยรุ่นกับความรุนแรง
นับจากต้นปีที่ผ่านมา จะมีข่าวที่วัยรุ่นก่อความรุนแรงมากมาย เช่น
ข่าวที่วัยรุ่นใช้ปืนยิงเพื่อนนักเรียนเสียชีวิต ยกพวกตีกันระหว่างสถาบัน และล่าสุด
คือเมื่องานคอนเสิร์ตทรัพย์สินทางปัญญา ได้มีวัยรุ่นประมาณ 1,000 คน ยกพวกตีกันจนทำให้มีผู้เสียชีวิต
2 ราย ปัญหาเหล่านี้ จัดว่าเป็นปัญหาทางสังคม
ที่นับวันได้มีแนวโน้มที่แสดงออกถึงการทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
วัยรุ่นเป็นวัยที่ผู้คนมักเรียกกันว่า วัยหัวเลี้ยวหัวต่อ
เพราะวัยนี้พยายามที่จะค้นหาความเข้าใจในตนเอง ยิ่งในโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
การติดต่อสื่อสารทำได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้โลกทัศน์ของวัยรุ่นกว้างขึ้น
บางคนก็ค้นพบตนเองในทางที่ถูกต้อง แต่บางคนกลับหันเหไปในทางที่ผิด
ทำให้เป็นบ่อเกิดของปัญหาที่เราเห็นในปัจจุบัน
ถ้าจะวิเคราะห์ถึงปรากฏการณ์ของความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับวัยรุ่นในขณะนี้
คิดว่าคงจะมีสาเหตุมาจากหลายๆด้าน ทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ของวัยรุ่น สภาพครอบครัว
สภาพสังคมต่างๆ ที่เป็นตัวหล่อหลอมพฤติกรรมของวัยรุ่นผ่านสื่อต่างๆ ทั้งภาพยนตร์ วีดีโอ เกม
ที่ล้วนมีผลต่อความรุนแรง เข้าไปอยู่ในจิตใต้สำนึก โดยที่เขาเองก็ไม่รู้ตัว
สิ่งสำคัญที่สุดที่จะบ่งชี้ถึงพฤติกรรมของวัยรุ่น ก็คือครอบครัว
เพราะครอบครัวเป็นสถาบันที่มีอิทธิพลสำคัญที่สุดในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของวัยรุ่น
ครอบครัวจะเป็นหน่วยพื้นฐานที่คอยเสริมสร้างประสบการณ์ของเด็กเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น
ความสัมพันธ์กับบุคลในครอบครัวจะยุ่งยากสลับซับซ้อนมากขึ้น และมักจะเกิดปัญหาขัดแย้งกันเสมอๆ
เราจะสังเกตได้ง่ายๆ ว่าวัยรุ่นเริ่มมีความรู้สึกอยากเป็นอิสระ ไม่อยากให้ใครมาบังคับ
และต้องการเป็นตัวของตัวเอง ดังนั้นส่วนสำคัญที่สุด คือพ่อ แม่ ที่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูก
ควรให้คำปรึกษา เข้าใจในชีวิตของเด็กวัยนี้ ไม่ขัดขวาง ห้ามในสิ่งที่เขาต้องการค้นหา
แต่ควรให้คำปรึกษาที่ดี เพราะเด็กวัยนี้ ยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุ
โดยทั่วไปแล้วเด็กวัยรุ่นมักจะเกิดความขัดแย้งกับพ่อแม่เสมอ
ทำให้หันเหชีวิตไปหาเพื่อนเป็นส่วนใหญ่
กลุ่มเพื่อนจึงเป็นสิ่งแวดล้อมที่วัยรุ่นให้ความสำคัญเหนืออื่นใดจึงเกิดการเกาะติดความเป็นพรรค เป็นพวก
สืบเนื่องไปจนถึงความเป็นสถาบัน และยึดถือปฏิบัติกฎเกณฑ์ที่รุ่นพี่ในสถาบันตั้งขึ้น
เราจึงเห็นกลุ่มวัยรุ่นต่างสถาบันยกพวกตีกันมาตั้งแต่สมัยรุ่นปู่ รุ่นพ่อ สืบมาจนถึงรุ่นปัจจุบัน
จากสาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นใช้ความรุนแรงในการตัดสินปัญหา
ทำให้เราเห็นว่าครอบครัวน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุด
ในการปลูกฝังอบรมเด็กสร้างบุคลิกภาพที่ดีให้แก่เด็กเมื่อเขาโตขึ้นและย่างเข้าสู่วัยรุ่น พ่อ
แม่ต้องเป็นส่วนสำคัญในการชี้แนวทางการดำเนินชีวิต การแก้ไขปัญหาต่างๆด้วยวิธีที่ถูกต้อง
และต้องเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกของวัยรุ่น ไม่ดุด่า หรือปล่อยจนเกินไป
เพราะสาเหตุเหล่านี้จะทำให้วัยรุ่นกลายเป็นคนที่ก้าวร้าว และตีตัวออกห่างจากครอบครัว
ไปมั่วสุมกับเพื่อนๆ และเลือกเดินในแนวทางที่ผิดจนกลายเป็นปัญหาของสังคมอย่างที่ปรากฏในปัจจุบัน





























ใบความรู้
เพลง เขมรไล่ควาย
                                                                                                                ขับร้อง : สุรพล  สมบัติเจริญ
                                                เราชาวนาอยู่กับควายพอหมดงานไถ             
                                เราจูงฝูงควายเข้าบ้านพออาบน้ำควายสำราญ
                                แล้วเสร็จจากงานเบิกบานร้องเพลงรำวง                      
                                เราชาวนาสุขสบายคืนค่ำเดือนหงาย
                                เราขี่หลังควายร้องส่งทั้งฉิ่งทั้งกลองฆ้องวง                 
                                ชะเท่งมงรำวงแสนเพลิดเพลินใจ
                                แม้นใครอิจฉามันน่าหัวเราะ                                           
                                จะเยาะพวกเรามิได้ลมเย็นเย็น
                                ร้องเขมรไล่ควายแปลกใจควายมันไม่อาทร  
                                เจอคนงอนค่อนว่าคนว่าโง่เป็นควาย
                                ไยไม่นึกอายคำค่อนควรชั่งยั้งใจไว้ก่อน                        
                                โฉมแม่บังอรสิ้นงอนแล้วได้ขี่ควาย

................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น