วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5

  แผนการจัดการเรียนรู้ที่              
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                               ชั้นมัธยมศึกษาปีที่       
หน่วยการเรียนรู้       เรื่องนิราศนรินทร์         รายวิชาภาษาไทย      รหัสวิชา     ๓๑๑๐๑
เวลาเรียน      ชั่วโมง
…………………………………………………………………
มาตรฐานการเรียนรู้  
ท๑.๑                      ตัวชี้วัด   ม.๔-๖/๑-๙
ท๕.๑                     ตัวชี้วัด   ม.๔-๖/๑-๖
ท๒.๑                     ตัวชี้วัด   ม๔-๖/๒
ท๓.๑                     ตัวชี้วัด  ม.๔-๖/๑-๕
ท๔.๑                     ตัวชี้วัด   ม. ๔-๖/๒
สาระสำคัญ
            การอ่านวรรณคดีแต่ละเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้ประวัติผู้แต่ง สามารถวิเคราะห์วรรณคดีนำมาบรูณาการกับหลักภาษาไทยเพื่อนำไปใช้ในชีวิต อีกทั้งยังเป็นการยกย่องชื่นชมและรำลึกคุณงามความดีความรู้ความสามารถของผู้แต่งที่ได้สร้างสรรค์มรดกทางภาษาไว้     ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้และเกิดความภาคภูมิใจในฝีมือคนไทย
จุดประสงค์การเรียนรู้
                        ๑ .  อ่านวรรณคดีประเภทนิราศ  ถอดคำประพันธ์ได้  สรุปจับใจความเรื่องต่าง ๆ  อย่างเข้าใจแล้วแปลความโดยใช้วิจารณญาณได้   (K)
                        ๒.     วิเคราะห์  วิจารณ์   เนื้อหาและรูปแบบได้                (P)
                        ๓.     อ่านทำนองเสนาะได้ถูกต้อง (P)
                       ๔.      อ่านกวีนิพนธ์ประเภทโคลงนิราศได้อย่างเข้าใจและเห็นคุณค่า (A)
                        ๕.      แต่งคำประพันธ์ประเภทโคลงนิราศได้ (P)
                        ๖.     มีมารยาทในการอ่าน  (A)
                       
    สาระการเรียนรู้
                    ๑.     ประวัติ และเนื้อเรื่องนิราศนรินทร์
                    ๒.     การอ่านจับใจความ อ่านวิเคราะห์ และวิจารณ์วรรณคดี
                    ๓ .    การแต่งคำประพันธ์ประเภทกลอนนิราศ
                      .   การอ่านทำนองเสนาะ
                     
                   
            การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
                    ชั่วโมงที่ 
                     ๑.     ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ  
                     ๒.     นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน   เรื่อง  นิราศนรินทร์
                     ๓ .    สนทนาเรื่องนิราศต่างๆ ที่นักเรียนรู้จัก
                     ๔.     นักเรียนศึกษาใบความรู้เรื่อง  โคลงสี่สุภาพและที่มาของเรื่อง ถามนักเรียน
เป็นรายบุคคล
                         ร่วมกันสรุปเรื่องโคลงสี่สุภาพและที่มาของเรื่อง
                    ชั่วโมงที่  -
                    ๖.     นักเรียนอ่านโคลงนิราศเป็นทำนองเสนาะ
                    ๗.     ครูและนักเรียนร่วมกันอ่านทำนองเสนาะประเภทโคลงนิราศนรินทร์   (ตอนที่เป็นบทอาขยาน)  ฝึกอ่านเป็นกลุ่ม และรายบุคคล   ให้นักเรียนมาท่องอาขยานนอกเวลากับครู
                    ๘.     นักเรียนแบ่งกลุ่มเป็น  ๖ กลุ่ม ศึกษา  ดังนี้
                                กลุ่มที่               ถอดคำประพันธ์และสรุปความ
                                กลุ่มที่               ถอดคำประพันธ์และสรุปความ
                                กลุ่มที่                คำศัพท์และสำนวน
                                กลุ่มที่                เส้นทางการเดินทาง
                                กลุ่มที่                วิเคราะห์คุณค่าด้านวรรณศิลป์
                                กลุ่มที่                 วิเคราะห์คุณค่าด้านอื่น(ไม่ใช่วรรณศิลป์)
                    ๙.     นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมารายงานหน้าห้อง
                    ๑๐.   ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปและทำใบงาน
                    ๑๑.    นักเรียนทดสอบหลังเรียน  เรื่องนิราศนิรนทร์
ชั่วโมงที่ 
                    ๑๘.  แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้เรื่องการแต่งคำประพันธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพ
                    ๑๙.    ให้นักเรียนทบทวนเรื่องโคลงสี่สุภาพ
                    ๒๐. ให้นักเรียนจับคู่กันแล้วแต่งโคลงสี่สุภาพ  จำนวน    บท
                    ๒๑.  เมื่อทำงานเสร็จแล้ว  ให้นักเรียนออกมาอ่านหน้าห้องเรียน
                    ๒๒. สรุปวิจารณ์และสรุป
สื่อการเรียน
          ๑.   ใบความรู้ เรื่องโคลงสี่สุภาพ
          .  แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน เรื่องนิราศนรินทร์
          . ใบงานเรื่องนิราศนรินทร์
          .ใบความรู้เรื่อง  การวิเคราะห์วรรณกรรมร้อยกรอง
         
 แหล่งการเรียนรู้
. ห้องสมุด
.  อินเทอร์เน็ท
. หนังสือพิมพ์/วารสาร
การวัดและประเมินผล
          ผู้ประเมิน
          ครูผู้สอน เพื่อนนักเรียนและตัวนักเรียน
  สิ่งที่ต้องการประเมิน
                   ๑.  การทำงานร่วมกัน
                   .   การนำเสนอผลงานกลุ่ม
                   .   ผลงาน
                   .   การอ่านทำนองเสนาะ
                   ๕.   ผลสัมฤทธิของการเรียน
  ประเด็นการประเมิน  
.  การทำงานร่วมกัน
                   ) คณะทำงาน
                   ) ความรับผิดชอบต่อหน้าที่
                   )  ขั้นตอนการทำงาน
)  เวลา
                   )  ความร่วมมือในการทำงาน
          .  การนำเสนอผลงานกลุ่ม
                   ) กลวิธีการนำเสนอ
                   )  เนื้อหา
                   )  ภาษา
) เวลา
. ผลงาน
                   ) ภาษา
                   ) เนื้อหา
.  การอ่านทำนองเสนาะ
๕.   ผลสัมฤทธิของการเรียน
คะแนนทดสอบ ก่อน-หลังเรียน

เกณฑ์การให้คะแนน
.  เกณฑ์การประเมินการทำงานกลุ่ม

ประเด็น

เกณฑ์การให้คะแนน

การประเมิน

.คณะทำงาน
มีประธาน  เลขานุการ  ผู้นำเสนอ  ผู้ร่วมงาน
ขาดองค์ประกอบ อย่าง
ขาดองค์ประกอบ อย่าง
ขาดองค์ประกอบ อย่าง
. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่
ทุกคนมีหน้าที่และรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน
มีผู้มีหน้าที่ แต่ไม่รับผิดชอบ ๑คน
มีผู้มีหน้าที่ แต่ไม่รับผิดชอบ ๒คน
มีผู้มีหน้าที่ แต่ไม่รับผิดชอบ ๒คน
ขึ้นไป
. ขั้นตอนการทำงาน
)วางแผนการทำงาน
)แบ่งภาระงาน
)  ปฏิบัติตามแผนและภารงาน
)  พัฒนางานร่วมกัน
ขาด ๑ขั้นตอน หรือไม่ชัดเจน
ขาด ๒ขั้นตอน หรือไม่ชัดเจน
ขาด มากกว่า๒ขั้นตอนขึ้นไป
























ใบความรู้  
ประวัติผู้แต่ง นิราศนรินทร์
นายนรินทร์ธิเบศร์


          นายนรินทร์ธิเบศร์  เป็นใครมาจากไหนไม่ทราบแน่ชัด เปลื้อง  ณ นคร กล่าวไว้ในหนังสือประวัติวรรณ๕ดีไทยสำหรับนักศึกษา โยอ้างถึงพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยา
ลงกรณ์  ว่าได้ทรงกล่าวไว้นายนรินทร์ธิเบศร์เมื่อทรงแสดงปาฐกถาเรื่องนิราศนรินทร์ ณ สมามัคคาจารย์สมาคมว่า ประวัติของนายนรินทร์นั้นไม่มีใครทราบว่าเป็นลูกเต้าเหล่าใคร  ก่อนแต่งนิราศหรือเมื่อแต่งแล้วมีประวัติอย่างไรไม่มีใครรู้อีกเลย   แต่ในทำเนียบวังหน้ามีตำแหน่ง
มหาดเล็กหุ้มแพร ชื่อนายนรินทร์ธิเบศร์  ผู้แต่งนิราศเรื่องนี้แสดงตนว่าชื่อนายนรินทร์ธิเบศร์
นามเดิมชื่ออิน
            นิราศนรินทร์แต่งขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  โดยมีจุดมุ่งหมายในการแต่งเพื่อพรรณนาความรัก  ความคิดถึงนางและความทุกข์โศกที่ต้องจากนาง
แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพจำนวน  ๑๔๓  บทมีร่ายนำ  ๑ บท เป็นคำประนามพจน์
           หนังสือบางเล่มกล่าวว่า   นายนรินทร์ธิเบศร์แต่งนิราศนรินทร์ในโอกาสตามเสด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์  ไปปราบพม่าข้าศึกซึ่งมาตีชุมพรและถลางเมื่อ พ.ศ.  ๒๓๕๒
ซึ่งเป็นปีแรกแห่งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธลิศหล้านภาลัย เพราะปรากฏชื่อผู้แต่งในโคลง
บทสุดท้าย
         นิราศนรินทร์  เริ่มต้นด้วยยอพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน กล่าวถึงความรุ่งเรืองกล่าวถึง
ความรุ่งเรืองของบ้านเมืองและพระพุทธศาสนา  แล้วเริ่มรำพันถึงการจากนางไปราชการสงคราม  เดินทางเรือผ่านวัดแจ้ง  คลองบางกอก วัดหงส์ วัดสังกระจาย บางยี่เรือ ด่านนางรอง
บางขุนเทียน  บางบอน บางกก  หัวกระบือ  โคกขาม โคกเฒ่า มหาชัย ท่าจีน บ้านบ่อ นาขวาง
สามสิบสองคด ย่านซื่อ แม่กลอง  บ้านแหลม  เพชรบุรี  ต่อจากนั้นเดินทางบกผ่านชะอำ  ห้วยขมิ้น  ปราณ เขาสามร้อยยอด โคแดง  บางนางรม  บางสะพาน ด่านสิงขร  จบลงตอนเดินทาง
ถึงตระนาว ( ตะนาวศรี ) และบอกนามผู้แต่ง





ใบงาน เรื่องนิราศนรินทร์

            คำชี้แจง    ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

            ๑.   นิราศนรินทร์แต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดใด
            ๒.  นิราศนรินทร์แต่งในสมัยใด
            ๓.  นิราศนรินทร์มีเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งใด
๔.  รูปแบบโคลงสี่สุภาพเน้นเรื่องใดมากที่สุด
๕.  นอกจากนิราศนรินทร์แล้ว  นายนรินทร์ธิเบศร์แต่งเรื่องใดบ้าง
๖.  คำว่า นิราศ หมายความว่าอย่างไร
๗.  นิราศนรินทร์ มีคุณค่าทางด้านวรรณศิลป์อย่างไร
๘.  ข้อความตอนใดในนิราศนรินทร์ ที่กล่าวถึงผู้แต่ง  ยกข้อความนั้นมาตอบ
๙.  นิราศนรินทร์  มีความยาวทั้งหมดเท่าใด
๑๐. นิราศนรินทร์  ได้รับยกย่องว่าดีเด่นในเรื่องใด
















แบบทดสอบเรื่องนิราศนรินทร์
ð  จงเลือกข้อที่ถูกต้องที่สุด
๑.  นิราศนรินทร์  แต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดใด
ก.  โคลงสี่สุภาพ                    ข.  กาพย์ยานี  ๑๑
ค.  กลอนแปด                       ง.  ร่ายดั้น
๒.  คำว่า ศรีอยุธเยนทร์ ในนิราศนรินทร์  หมายถึงช่วงสมัยใด
ก.  กรุงสุโขทัย                      ข. กรุงศรีอยุธยา
ค.  กรุงธนบุรี                         ง.  กรุงรัตนโกสินทร์
๓.  ในนิราศนรินทร์  มีโคลงสี่สุภาพทั้งหมดกี่บท
ก.  ๒๓๔      บท                    ข.  ๑๔๓    บท
ค.  ๑๐๐         บท                   ง.    ๙๗     บท
๔.  ข้อความใดเป็นบทชมเมือง
ก.  พระยศไท้เทิดฟ้า             เฟื่องฟุ้งคุณธรรม
ข.  โบสถ์ระเบียงมณฑปพื้น                ไพหาร
ค.  เรืองเรืองไตรรัตน์พ้น     พันแสง
ง.  อยุธยายศล่มแล้ว              ลอยสวรรค์   ลงฤๅ
๕.  ข้อความใดเป็นบทแสดงความเป็นห่วงคนรัก
ก.  จำใจจากแม่เปลื้อ             ปลิดอก   อรเอย
ข.  จากมามาลิ่วล้ำ                  ลำบาง
ค.  โฉมควรจักฝากฟ้า           ฤๅดิน   ดีฤๅ
ง.  เห็นจากจากแจกัน            แกมระกำ
๖.  ข้อความใดเป็นอุปมาโวหาร
ก.  ชมแขคิดใช่หน้า              นวลนาง
ข.  บ้านบ่อน้ำบกแห้ง           ไป่เห็น
ค.  อยุธยายศล่มแล้ว              ลอยสวรรค์   ลงฤๅ
ง.  ตราบขุนคิรินทร์                              ขาดสลาย  แลแม่
๗.  คำว่า  คล่าว  หมายความว่าอย่างไร
ก.  หลั่งไหล                           ข.  ก้มหัว
ค.  มากมาย                             ง.  แม่น้ำ
๘.  อัญมณีในข้อใดไม่ได้จัดอยู่ใน  แก้วเก้า 
ก.  เพชร                                 ข.  ทองคำ
ค.  ทับทิม                               ง.  มรกต
๙.  คำว่า  จักรี   ในนิราศนรินทร์หมายถึงใคร
ก.  กษัตริย์ต้นราชวงศ์           ข.  เจ้าพระยาจักรี
ค.  พระนารายณ์                                     ง.  พระอิศวร
๑๐ - ๑๑   อ่านคำกลอนนี้แล้วตอบคำถาม
             นทีสี่สมุทรม้วย        หมดสาย
ติมิงคล์มังกรนาคผาย                            ผาดร้อน
หยาดเหมพิรุณหาย                                เหือดโลก  แล้งแม่
แรมราคแสนร้อยร้อน                           ฤๅเท่าเรียมทน
๑๐.  ในคำประพันธ์ที่ยกมานี้กล่าวถึงเรื่องใด
ก.  แรงรักพิศวาส                   ข. มหาสมุทรสี่แห่ง
ค.  ฝนท่วมโลก                     ง.  พญานาค
๑๑.  คำประพันธ์ที่ยกมานี้เป็นโวหารชนิดใด
ก.  พรรณนาโวหาร                               ข.  สาธกโวหาร
ค.  อุปมาโวหาร                     ง.  บรรยายโวหาร
๑๒.  คำว่า รอนเสี้ยน หมายความว่าอย่างไร
ก.  ปราบข้าศึก                       ข.  ขจัดศัตรู
ค.  ไสให้เรียบ                        ง.  แสงอาทิตย์
๑๓.  เทพเจ้าองค์ใดที่มีพันตา
ก.  พระพรหม                        ข.  พระนารายณ   
ค.  พระอิศวร                         ง.  พระอินทร์
๑๔.   ผู้แต่งนิราศนรินทร์จากคนรักไปทำการใด  ถึงได้แต่งนิราศนรินทร์
ก.  ไปสงคราม                       ข.  ไปราชการงานเมือง
ค.  ไปเยี่ยมญาติ                                              ง.  ไปท่องเที่ยว
๑๕. ตอนจบของนิราศนรินทร์  จบลงเมื่อผู้แต่งเดินทางไปถึงที่ใด
ก.  คลองโคกขาม                  ข.  แม่กลอง
ค.  ตระนาวศรี                       ง.  เพชรบุรี
๑๖.  นิราศนรินทร์  โดดเด่นในด้านวรรณศิลป์อย่างไร
ก.  ถูกต้องตามฉันทลักษณ์                  
ข.  ใช้พรรณนาโวหารได้ดี
ค.  มีสัมผัสอักษรมาก                                           
ง.  ใช้คำอุปมาอุปไมยได้ดี  
๑๗.  ข้อใดไม่จัดอยู่ในทศพิธราชธรรม
ก.  ทาน                                   ข.  ความไม่เบียดเบียน
ค.  ความอดทน                               ง.  ความเป็นกันเอง

๑๘.   คำว่า บุญเพรง  ในนิราศนรินทร์หมายความว่าอย่างไร
                                ก.  กรรมเวร                                                           ข.  บุญเก่า
                                ค.  ชื่อคนรัก                                                          ง.  ชื่อสถานที่        

๑๙. นิราศนรินทร์แต่งเลียนแบบวรรณคดีเรื่องใด
                ก.  นิราศพระบาท                 
                ข.  นิราศภูเขาทอง
                ค.  กำสรวลศรีปราชญ์                                          ง.  โคลงสยามานุสติ
                ๒๐.  บทเริ่มของนิราศนรินทร์ แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทใด
                ก.  โคลงสี่สุภาพ   
                ข.  ร่ายดั้น
                ค.  ร่ายสุภาพ                                                          ง.  กลอนแปด




                               
               


               
















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น