วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3

  แผนการจัดการเรียนรู้ที่              
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                               ชั้นมัธยมศึกษาปีที่       
หน่วยการเรียนรู้       เรื่องอิเหนา         รายวิชาภาษาไทย      รหัสวิชา     ๓๑๑๐๑
เวลาเรียน  ๑๐    ชั่วโมง
…………………………………………………………………
มาตรฐานการเรียนรู้  
ท๑.๑                      ตัวชี้วัด   ม.๔-๖/๑-๙
ท๕.๑                     ตัวชี้วัด   ม.๔-๖/๑-๖
ท๒.๑                     ตัวชี้วัด   ม๔-๖/๒-๓
ท๓.๑                     ตัวชี้วัด  ม.๔-๖/๑-๖
สาระสำคัญ
           บทละครเรื่อง อิเหนา พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของบทละครรำ ที่มีเค้าเรื่องเดิมมาจากนิทานปันหยี                 ของชวาซึ่งไทยรับมาตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ได้ทรงสอดแทรกวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี              และชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย จนราวกับเป็นวรรณคดีไทยอย่างแท้จริง
จุดประสงค์การเรียนรู้      
          ๑.     อธิบายความหมายของคำศัพท์จากเรื่องที่อ่าน (K)
          ๒.   ตีความ  แปลความ  สรุปใจความสำคัญของเรื่อง (K)
          ๓.    วิเคราะห์และวิจารณ์เรื่องที่อ่าน (P)
          ๔.    สังเคราะห์ข้อคิดจากเรื่องที่อ่าน (P)
          ๕.    เห็นคุณค่าของวรรณคดีและกระตือรือร้นในการเรียนรู้ (A)
         ๖.    มีมารยาทในการฟัง  (A)
      สาระการเรียนรู้  
     ๑.     ความรู้
               บทละครเรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง
       ๒.    ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด
                  การจำแนก  การให้เหตุผล  การจัดระบบความคิดเป็นแผนภาพ  การสังเคราะห์ 
                     การปฏิบัติ/การสาธิต  การแก้ปัญหา  การประยุกต์/การปรับปรุง  การประเมินค่า 
                     การสรุปความรู้
    ๓.    คุณลักษณะอันพึงประสงค์
                  ซื่อสัตย์สุจริต  มีวินัย ใฝ่เรียนรู้  มุ่งมั่นในการทำงาน  รักความเป็นไทย

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
                    ชั่วโมงที่  ๑-๒
            ๑.     ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ  
            ๒.     นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน   เรื่อง  อิเหนา  ตอนศึกกะหมังกุหนิง
    ๓.  ให้นักเรียนฟังเพลง บุษบาเสี่ยงเทียน แล้วร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับประสบการณ์การฟัง                 และการอ่านเรื่องอิเหนา
  ๔.    เปิดแถบบันทึกเสียงบทนำเรื่องอิเหนา  แล้วทำใบงาน
  ๕.   ครูและนักเรียนร่วมกันตรวจใบงาน แล้วสรุป
                    ชั่วโมงที่  ๓-๕
       ๑.   ทบทวนเรื่องอิเหนาจากชั่วโมงก่อน
๒.  ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มเป็น    กลุ่มๆละ ๖-๗ คน  ปฏิบัติงานกลุ่มโดยจับฉลากหัวข้อเรื่องดังนี้
กลุ่มที่  ๑- ๔   ถอดคำประพันธ์  (แบ่งเป็น    ช่วงเท่าๆกัน)
กลุ่มที่          แสดงละคร
กลุ่มที่ ๖        สรุปข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
     ๓. ให้นักเรียนระดมพลังสมองปฏิบัติงานตามหัวข้อที่จับฉลากได้ 
     ๔.  ให้ตัวแทนกลุ่มออกมารายงานหน้าชั้นเรียน
     ๕.  ครุและนักเรียนช่วยกันสรุป
            ชั่วโมงที่  ๖-๗
     ๑.   ให้กลุ่มแสดงละครออกมาแสดงละคร
    ๒.  ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มวิจารณ์ลักษณะนิสัยของตัวละครในเรื่อง
   ๓. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปลักษณะนิสัยของตัวละครในเรื่อง
ชั่วโมงที่  ๘-๑๐
๑.  ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มเป็น    กลุ่มๆละ ๖-๗ คน  ปฏิบัติงานกลุ่มโดยจับฉลากหัวข้อเรื่องดังนี้
กลุ่มที่        สรุปสาระสำคัญของเรื่อง
กลุ่มที่  ๒-๓        สรุปสาเหตุ ปัญหา ผลกระทบ และแนวทางแก้ไขปัญหาในตอนที่เรียน
                     แสดงละคร
กลุ่มที่ ๔-๕        รวบรวมกลวิธีการประพันธ์ประเภทการเล่นคำ การใช้ใช้อุปมา
กลุ่มที่          พิจารณาคุณค่าของเรื่องด้านภาษา ด้านเนื้อหา และด้านสังคม
๒.
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
 นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานตามลำดับ
๓. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้และข้อคิดจากการศึกษาบทละครเรื่อง อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
๔.นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน   เรื่อง  อิเหนา  ตอนศึกกะหมังกุหนิง



สื่อการเรียน
          ๑.   แถบบันทึกเสียงเพลงบุษบาเสี่ยงเทียน
          .  แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน เรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
          . ใบงานเรื่องบทนำเรื่องอิเหนา
แหล่งการเรียนรู้
. ห้องสมุด
.  อินเทอร์เน็ท
การวัดและประเมินผล
          ผู้ประเมิน
          ครูผู้สอน เพื่อนนักเรียนและตัวนักเรียน

  สิ่งที่ต้องการประเมิน
                   ๑.  การทำงานร่วมกัน
                   .   การนำเสนอผลงานกลุ่ม
                   .   ผลงาน
                   .   ผลสัมฤทธิของการเรียน
  ประเด็นการประเมิน  
.  การทำงานร่วมกัน
                   ) คณะทำงาน
                   ) ความรับผิดชอบต่อหน้าที่
                   )  ขั้นตอนการทำงาน
)  เวลา
                   )  ความร่วมมือในการทำงาน
          .  การนำเสนอผลงานกลุ่ม
                   ) กลวิธีการนำเสนอ
                   )  เนื้อหา
                   )  ภาษา
) เวลา
. ผลงาน
                   ) ภาษา
                   ) เนื้อหา
.  ผลสัมฤทธิของการเรียน
คะแนนทดสอบ ก่อน-หลังเรียน
เกณฑ์การให้คะแนน
.  เกณฑ์การประเมินการทำงานกลุ่ม

ประเด็น

เกณฑ์การให้คะแนน

การประเมิน

.คณะทำงาน
มีประธาน  เลขานุการ  ผู้นำเสนอ  ผู้ร่วมงาน
ขาดองค์ประกอบ อย่าง
ขาดองค์ประกอบ อย่าง
ขาดองค์ประกอบ อย่าง
. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่
ทุกคนมีหน้าที่และรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน
มีผู้มีหน้าที่ แต่ไม่รับผิดชอบ ๑คน
มีผู้มีหน้าที่ แต่ไม่รับผิดชอบ ๒คน
มีผู้มีหน้าที่ แต่ไม่รับผิดชอบ ๒คนขึ้นไป
. ขั้นตอนการทำงาน
)วางแผนการทำงาน
)แบ่งภาระงาน
)  ปฏิบัติตามแผนและภารงาน
)  พัฒนางานร่วมกัน
ขาด ๑ขั้นตอน หรือไม่ชัดเจน
ขาด ๒ขั้นตอน หรือไม่ชัดเจน
ขาด มากกว่า๒ขั้นตอนขึ้นไป
. เวลา
เสร็จก่อนกำหนด และงาน
มีคุณภาพ
เสร็จตามกำหนด
และงานมีคุณภาพ
เสร็จไม่ทันตามกำหนดแต่งานมีคุณภาพ
เสร็จไม่ทันตามกำหนดและงานไม่มีคุณภาพ
.ความร่วมมือในการทำงาน
ทุกคนมีส่วนร่วมและให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่
ร้อยละ ๘๐ ของกลุ่มมีส่วนร่วมและให้ความร่วมมือ
ร้อยละ ๖๐ ของกลุ่มมีส่วนร่วมและให้ความร่วมมือ
ร้อยละ ๔๐ของกลุ่มมีส่วนร่วมและให้ความร่วมมือ

.   เกณฑ์การประเมินการนำเสนอผลงานกลุ่ม

ประเด็น

เกณฑ์การให้คะแนน

การประเมิน

.กลวิธีการนำเสนอ
มีการนำเข้าสู่เนื้อเรื่อง
. มีความสัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง
. น่าสนใจชวนให้ติดตาม
. มีความมั่นใจในการนำเสนอ
ขาด ๑ขั้นตอน หรือไม่ชัดเจน
ขาด ๒ขั้นตอน หรือไม่ชัดเจน
ขาด มากกว่า๒ขั้นตอนขึ้นไป
. เนื้อหา
. มีการเรียงลำดับเนื้อหา
.เนื้อหามีความต่อเนื่อง
. เนื้อหาสอคล้อง
. เนื้อหามีสาระประโยชน์
ขาด ๑ขั้นตอน หรือไม่ชัดเจน
ขาด ๒นตอน หรือไม่ชัดเจน
ขาด มากกว่า๒ขั้นตอนขึ้นไป
. ภาษา
. ออกเสียงถูกต้องตามอักขรวิธี
   เสียงดังฟังชัดเจน
. ใช้ภาษาเหมาะสม
. ใช้ภาษาเข้าใจง่าย
. มีการใช้สำนวนโวหาร
ขาด ๑ขั้นตอน หรือไม่ชัดเจน
ขาด ๒ขั้นตอน หรือไม่ชัดเจน
ขาด มากกว่า๒ขั้นตอนขึ้นไป
. เวลา
พูดจบเนื้อหา ภายในเวลาที่กำหนด
ใช้เวลามากหรือน้อยกว่าที่กำหนดไม่เกิน    นาที
ใช้เวลามากหรือน้อยกว่าที่กำหนดไม่เกิน    นาที
ใช้เวลามากหรือน้อยกว่าที่กำหนดมากกว่า  นาที

.   เกณฑ์การประเมินการนำเสนอผลงาน

ประเด็น

เกณฑ์การให้คะแนน

การประเมิน

.ภาษา
. เขียนคำและวลีสอดคล้องกับเนื้อหา
. เรียบเรียงประโยค  สอดคล้องกับเนื้อหา
. ใช้คำเชื่อมโยงถ้อยคำได้สละสลวย
. มีการใช้ภาษาอย่างสร้างสรรค์
. เขียนคำและวลีสอดคล้องกับ     เนื้อหา
. เรียบเรียงประโยค  สอดคล้องกับเนื้อหา
. ใช้คำเชื่อมโยงถ้อยคำได้สละสลวย
เขียนคำและวลีสอดคล้องกับ   เนื้อหา
. เรียบเรียงประโยค  สอดคล้องกับเนื้อหา


เขียนคำและวลีสอดคล้องกับ เนื้อหา

. เนื้อหา
. เนื้อหาตรงกับข้อเท็จจริง
. เนื้อหาเป็นไปตามลำดับขั้นตอน
.รายละเอียดครอบคลุม
.เนื้อหาสอดคล้องกับงาน
. เนื้อหาตรงกับข้อเท็จจริง
. เนื้อหาเป็นไปตามลำดับขั้นตอน
.รายละเอียดครอบคลุม
. เนื้อหาตรงกับข้อเท็จจริง
. เนื้อหาเป็นไปตามลำดับขั้นตอน

 เนื้อหาตรงกับข้อเท็จจริง



๔.  เกณฑ์การประเมิน  ผลสัมฤทธิของการเรียน  การทำแบบทดสอบหลังเรียน
          ทำคะแนน ได้   -๑๐   อยู่ในระดับ    ดีมาก
          ทำคะแนน ได้   -    อยู่ในระดับ    ดี
          ทำคะแนน ได้           อยู่ในระดับ    พอใช้
          ทำคะแนน ได้          อยู่ในระดับ    ผ่านเกณฑ์
          ทำคะแนน ได้ต่ำกว่า      อยู่ในระดับ    ไม่ผ่านต้องปรับปรุง
๕.  เกณฑ์การประเมินผล
          ๑๐.. การประเมินการทำงานกลุ่ม  ต้องได้ระดับ 
          ๑๐..  การประเมินการนำเสนอผลงานกลุ่ม  ต้องได้ระดับ  
                   ๑๐..  การประเมินผลงาน    ต้องได้ระดับ    
                   ๑๐..   การประเมินการอ่านทำนองเสนาะ   ต้องได้ ระดับ 
๑๐..   การประเมินผลสัมฤทธิของการเรียน  การทดสอบหลังเรียน  ต้องได้ระดับ     ผ่านเกณฑ์


  
ใบความรู้
พระราชประวัติผู้แต่ง อิเหนา  ตอนศึกกะหมังกุหนิง
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
           พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย    เป็นพระโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชกับสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี  ทรงมีพระนามเดิมว่า ฉิม พระราชสมภพเมื่อ  พ.ศ.  ๒๓๑๐ ณ  นิวาสสถานตำบลอัมพวา  เมืองสมุทรสงคราม  ก่อนที่สมเด็จพระบรมชนกนาถจะเสด็จเสวยราชสมบัติ
          เมื่อทรงพระเยาว์ ได้ทรงศึกษาเล่าเรียนที่สำนักพระวนรัต (ทองอยู่) วัดบางหว้าใหญ่
          สมัยธนบุรี  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โดยเสด็จพระราชบิดาไปในในราชการสงครามทุกครั้ง  จึงทรงรอบรู้ราชการสงครามเป็นอย่างดี  ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จปราบดาภิเษกเป็นประถมกษัตริย์แห่งราชวงจักรีใน  พ.ศ. ๒๓๒๕  จึงโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้ดำรงพระอิสริยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ  เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร  ขณะทรงมีพระชนมายุ ๑๖ พรรษา  ต่อมาใน พ.ศ. ๒๓๔๙  ได้รับพระราชทานอุปราชาภิเษกเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลตำแหน่งพระมหาอุปราช
          เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๒สมเด็จพระชนกนาถเสด็จสวรรคต  พระองค์จึงได้เสด็จเถลิงถวัลย์  ราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  พระมหากษัตริย์องค์ที่ ๒ แห่งราช
จักรีวงศ์
          พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเป็นมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีดาสามารถรอบรู้ในทุกด้าน  แต่ปรากฏพระอัจฉริยะเป็นพิเศษในด้านศิลปะ ทั้งวรรณคดี ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ดนตรีและนาฏศิลป์  และพระองค์ได้ชุบเลี้ยงกวี  นักปราชญ์  และช่างฝีมือไว้ในราชสำนักเป็นจำนวนมากจึงมีผลงานทั้งในด้านภาษา วัฒนธรรม และวรรณกรรมเจริญ
รุ่งเรืองมาก  จนได้รับยกย่องว่าเป็นยุคทองแห่งวรรณคดีและศิลปกรรม  มีวรรณคดีหลายเล่มได้รับยกย่องว่าเป็นยอดแห่งวรรณคดี  ได้แก่  อิเหนาเป็นยอดแห่งบทกลอนละครรำ ขุนช้างขุนแผนเป็นยอดแห่งกลอนสุภาพ  นอกจากนี้พระราชนิพนธ์ของพระองค์มีทั้งที่เป็นบทกลอนละครนอก บทกลอนละครในและบทกวีอื่นๆ ซึ่งเป็นที่ประทับใจแก่ผู้อ่านจนถึงปัจจุบัน



          พระอัจฉริยภาพของพระองค์มิได้เป็นที่ประจักษ์เฉพาะพสกนิกรชาวไทยเท่านั้น  ยังเป็นที่รู้จักของนานาประเทศทั่วโลก ใน พ.ศ. ๒๕๑๑ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติได้ยกย่องให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นบุคลสำคัญของโลก  และในปัจจุบันราชการได้ถือเอาวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นวันพระราชสมภพของพระองค์เป็น  
วันศิลปินแห่งชาติ
          พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  เสด็จสวรรคตเมื่อ  พ.ศ. ๒๓๖๓ สิริรวมพระชนมายุ ๕๘ พรรษา  ดำรงพระราชสมบัติอยู่ ๑๖ ปี


  ใบงานเรื่องอิเหนา

            คำชี้แจง    ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

            ๑.   บทละครเรื่องอิเหนา ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรด้านใด
            ๒.  บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒  ที่สำคัญได้แก่อะไรบ้าง
            ๓.  วรรณคดีที่สำคัญที่เกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๒ ได้แก่เรื่องใดบ้าง
๔.  กวีชื่อดังที่เกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๒ มีใครบ้าง
๕.  ลักษณะโดดเด่นของวรรณคดีในสมัยรัชกาลที่ ๒ คืออะไร
๖.  ประเพณีที่สำคัญที่กล่าวถึงในบทละครเรื่องอิเหนาได้แก่ประเพณีใดบ้าง
๗.  บทละครเรื่องอิเหนาได้ถูกเล่าขานกันมาตั้งแต่เมื่อใด
๘.  เพราะเหตุใดในสมัยรัชกาลที่ ๒ จึงได้ชื่อว่าเป็น ยุคทองแห่งวรรณคดี
๙.  บทละครเรื่องอิเหนาแต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดใด
๑๐. พระราชกรณียกิจทางด้านสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นของรัชกาลที่ ๒ ได้แก่
       อะไรบ้าง












แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียนเรื่องอิเหนา

            คำชี้แจง    ตอนที่    ให้นักเรียนเลือกตอบคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

            ๑.  อิเหนา  แต่งด้วยคำประพันธ์ชนิดใด
                        ก.  โคลงสี่สุภาพ                                 ข.  กาพย์ยานี  ๑๑
                        ค.  กลอนแปด                                     ง.  ร่ายดั้น
            ๒.  เพราะเหตุใดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  จึงได้รับ
                   ยกย่องว่าเป็นยุคทองแห่งวรรณคดี
                        ก.  มีกวีเกิดขึ้นมากมาย                      
ข.  มีวรรณกรรมเกิดขึ้นมากมาย
                        ค.  มีทั้งกวีและวรรณกรรมเกิดขึ้นมากมาย
                        ง.  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าทรงเป็นกวี
            ๓.  โอ้ว่าเจ้าดวงยิหวาพี่                       ป่านนี้จะคร่ำครวญหวนหา
                   ใครจะปลอบโฉมงามสามสุดา       แต่พอพาเศร้าบรรเทาคลาย
                    ตัวละครใดไม่ใช่  โฉมงามสามสุด
                        ก.  บุษบา                                             ข.  จินตะหรา
                        ค.  มาหยารัศมี                                     ง.  สการะวาตี
            ๔.  เพราะเหตุใดอิเหนาจึงยกทัพไปช่วยเมืองดาหา
                        ก.  ท้าวดาหาขอร้อง                           ข.  ท้าวหมันหยาออกคำสั่ง    
                        ค.  ท้าวกุเรปันสั่ง                                ง.  นางบุษบาขอร้อง
            ๕.  สาระของบทละครเรื่องอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิง  ข้อใดคือบทสรุป
                        ก.  สงครามแห่งโมหะจิต                    ข. สงครามวิกลจริต
ค.  สงครามเผ่าพันธุ์                            ง. สงครามล้างแค้น
๖.  ข้อใดคือพระราชกรณียกิจทางด้านสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นของรัชกาลที่ ๒
                        ก.  เจดีย์ภูเขาทอง                                ข.  รอยพระพุทธบาทจำลอง
                        ค.  ประตูโบสถ์วัดสุทัศน์ฯ                 ง.  สะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ
๗.  ใครคือกวีชื่อดังที่เกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๒
                        ก.  สุนทรภู่                                          ข.  นายชิต  บุรทัต
                        ค.  ศรีปราชญ์                                      ง.  เนาวรัตน์    พงษ์ไพบูลย์
            ๘.  คำประพันธ์ในข้อใดแสดงให้เห็นว่านางจินตะหราเป็นคนมีเหตุผล
                        ก.  เมื่อนั้น                                           พระทรงโฉมประโลมจิตพิสมัย
                              รับขวัญกัลยาแล้วว่าไป                 พี่จะลืมปลื้มใจไม่มี
                        ข.  ถึงไปก็ไม่อยู่นาน                           เยาวมาลย์อย่าโศกเศร้าหมอง
                             พระจุมพิตชิดเชยปรางทอง                        กรประคองนฤมลขึ้นบนเพลา
                        ค.  เมื่อนั้น                                           จินตะหราวาตีโฉมเฉลา
                             ได้เห็นสารทราบความตามสำเนา   ค่อยบรเทาเบาทุกข์แคลงใจ
                        ง.   เมื่อนั้น                                           จินตะหราวาตีมีศักดิ์
                             ฟังตรัสขัดแค้นฤทัยนัก                  สะบัดพักตร์ผินหลังไม่บังคม
            ๙.  ในขั้นตอนที่ ๑ ผู้วิจารณ์ต้องถามตนเองในแง่มุมใด
                        ก.  อย่างไร  คือเรื่องที่จะดำเนินไป                             
ข.  เหตุใด จึงเกิดการณ์นี้ขึ้น
                        ค.  จะแก้ปมของเรื่องให้ถูกใจผู้อ่านอย่างไร                           
ง.  อะไร คือสิ่งที่นักเขียนต้องการให้เราทราบ
            ๑๐ - ๑๒   อ่านคำกลอนนี้แล้วตอบคำถาม
                        ว่าพลางทางชมคณานก                       โผนผกจับไม้อึงมี่
                        เบญจวรรณจับวัลย์ชาลี                       เหมือนวันพี่ไกลสามสุดามา
                        นางนวลจับนางนวลนอน                    เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา
                        จากพรากจับจากจำนรรจา                   เหมือนจากนางสการะวาตี
                        แขกเต้าจับเต่าร้างร้อง                          เหมือนร้างห้องมาหยารัศมี
                        นกแก้วจับแก้วพาที                             เหมือนแก้วพี่ทั้งสามสั่งความมา
            ๑๐.  ในคำประพันธ์ที่ยกมานี้กล่าวถึงชื่อตัวละครกี่คน
                        ก.  ไม่ได้กล่าว                                     ข.    คน
                        ค.    คน                                            ง.     คน
            ๑๑.  ในคำประพันธ์ที่ยกมานี้กล่าวถึงชื่อนกกี่ชนิด
                        ก.    ชนิด                                          ข.    ชนิด
                        ค.    ชนิด                                          ง.    ชนิด
            ๑๒.  ชื่อในข้อใดเป็นชื่อต้นไม้
                        ก.  นางนวล                                         ข.  จากพราก
                        ค.  จินตะหรา                                      ง.  ร้างห้อง
            ๑๓.      คำกลอนในข้อใดเป็นลักษณะสอดแทรกอุทาหรณ์สอนใจ
                        ก.  แม้นมิได้ยกพลไกรไปช่วย                        ถึงเราม้วยก็อย่ามาดูผี
                        ข.  ถึงไม่เลี้ยงบุษบาเห็นว่าชั่ว             แต่เขารู้ตัวนั้นเป็นพี่
                        ค.  โอ้ว่าพระองค์ผู้ทรงยศ                   พระเกียรติปรากฏทั่วหล้า
                        ง.  เกียรติยศจะไว้ในธรณินทร์             จนสุดสิ้นดินแดนแผ่นฟ้า
            ๑๔.  คำว่า กระยาหงัน หมายความว่าอย่างไร
            ก.  นรก                                               ข.  สวรรค์
            ค.  คู่หมั้น                                            ง.  นางฟ้า
            ๑๕.   อะหนะ  หมายความว่าอย่างไร
                        ก.  ลูก                                                  ข.  หลาน
                        ค.  เทวดา                                            ง.  กษัตริย์      
            ๑๖. ล่าสำ เป็นชื่อของใคร
                        ก.  ทหารของอิเหนา                            ข.  พี่เลี้ยงของอิเหนา
ค.  พี่ชายของจรกา                              ง.  น้องชายของวิหยาสะกำ    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น